ระวังภัย ไอโอดีนไม่เพียงพอ (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

นายวิทยา บุรณศิริ รมว.กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ในปีนี้ได้ สธ. ให้การสนับสนุนเครื่องผสมเกลือไอโอดีนที่ได้มาตรฐาน ให้กับผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนทั้งขนาดกลางและขนาดเล็ก จำนวน 100 เครื่อง เพื่อให้ผู้ประกอบการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพและเป็นไปตามหลักกฎหมาย

นอกจากนี้ สธ. ยังกำหนดให้มีการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกภาค มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนหมู่บ้านทั่วประเทศ 77,000 แห่งให้เป็นชุมชนหรือหมู่บ้านไอโอดีน และพัฒนาสู่ความยั่งยืนเป็นจังหวัดไอโอดีนทั้งหมด ภายใน 3 ปีหลังจากนี้ กล่าวคือปี พ.ศ. 2558

ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ การมีไอโอดีนไม่เพียงพอเป็นปัญหาท้องถิ่น เฉพาะที่ในย่านที่มีภูเขาของสหรัฐอเมริกาและเม็กซิโก และในบริเวณที่เรียกว่า “Goiter belt” รอบๆ ทะเลสาบ ที่ชื่อ “Great Lakes” แต่เนื่องจากนโยบายระดับชาติในเรื่องการกระจายอาหาร (Food supply) การเติมไอโอดีในเกลือ (Iodized salt) และปัจจัยอื่นๆ ทำให้การไม่มีไอโอดีนเพียงพอ ไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไปในทวีปอเมริกาเหนือ

แต่การมีไอโอดีไม่เพียงพอ ยังคงเป็นปัญหาของสาธารณสุขไปทั่วโลกใน 47 ประเทศ และประชากรประมาณ 2.2 พันล้านคน (หรือ 38% ของประชากรโลก) อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ไม่มีไอโอดีนเพียงพอ ความพยายามระดับนานาชาติซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นคริสตทศวรรษ 1990s ได้ช่วยลดอุบัติการณ์ของการไม่มีไอโอดีนเพียงพอ ลงอย่างฮวบฮาบ อย่างไรก็ตาม ประชากรบางกลุ่มยังมีความเสี่ยงสูงต่อการนำไอโอดีนเข้าสู่ร่างกายอย่างไม่เพียงพอ

ดินที่ไม่มีไอโอดีนเพียงพอ จะให้ผลผลิตพืชที่มีระดับไอโอดีนต่ำ ในบริเวณภูเขาของโลก อาทิ ภูเขาหิมาลัย (Himalayas) ภูเขาเอ็ลป์ (Alps) และภูเขาเอนดีส (Andes) และหุบเขาที่แม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งล่อแหลมต่อการเกิดน้ำท่วม โดยเฉพาะในเอเชียใต้ และเอเชียอาคเนย์ [รวมทั้งประเทศไทยด้วย] เป็นย่านที่มีไอโอดีนน้อยที่สุดของโลก

ประชากรที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าว จึงความเสี่ยงสูงของการไม่มีไอโอดีนเพียงพอ เว้นแต่ว่า ประชากรดังกล่าวอยู่นอกอาณาเขตน้ำท่วมที่มีไอโอดีนน้อยอยู่แล้ว หรือสามารถเข้าถึงการเติมไอโอดีนในเกลือ (Iodized salt) เกลือเสริมไอโอดีนเป็นกลยุทธ์ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในการควบคุมการไม่มีไอโอดีนเพียงพอ

นอกจากนี้ บริเวณที่มีไอโอดีนไม่เพียงพอ ยังรวมถึงทวีปอัฟริกา และด้านตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน (Mediterranean) ซึ่งมีอัตราการใช้เกลือเสริมไอโอดีนประมาณ 47% ถึง 67% ประมาณการทั่วโลก แสดงว่าประมาณ 31% ของเด็กวัยเรียน ยังไม่สามารถเข้าถึงเกลือเสริมไอโอดีนดังกล่าว

ปัจจุบัน ประมาณ 70% ของครัวเรือนทั่วโลก ใช้เกลือเสริมไอโอดีน แต่การมีไอโอดีนไม่เพียงพอก็ยังเป็นปัญหาของโลกในบางย่าน WHO รายงานว่า ในยุโรป 52% ของประชากรมิได้นำไอโอดีนเข้าสู่ร่างกาย (Intake) อย่างเพียงพอ และตามข้อมูลขององค์การยูนิเซฟ (= UNICEF (United Nations Children’s Fund) ประมาณ 49% ของครัวเรือนในยุโรปเท่านั้น ที่สามารถเข้าถึงเกลือเสริมไอโอดีนได้ [นอกนั้นยังขาดแคลนไอโอดีนอยู่]

แหล่งข้อมูล:

  1. สธ.xเดินหน้าพัฒนาเด็กไทยโตสมวัย เร่งขจัดโรคขาดสารไอโอดีน หลังพบไอคิวยังต่ำกว่าเกณฑ์ http://www.naewna.com/local/23321 [2012, October 1].
  2. Iodine. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/natural/35.html [2012, October 1].