ระวังทีเด็ด เห็ดป่าหน้าฝน (ตอนที่ 2)

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการจับจ่ายซื้ออาหาร ณ ตลาดสดทุ่งนาทอง เขตเทศบาลเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นไปอย่างคึกคัก โดยเฉพาะเห็ดป่า เนื่องจากมีพ่อค้าแม่ค้านำเห็ดป่าชนิดต่างๆ ที่ไปเก็บในป่ามาวางขาย ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนที่นิยมบริโภคอาหารป่ากันเป็นจำนวนมาก เห็ดป่าดังกล่าว ขายหมดอย่างรวดเร็ว

ส่วนราคานั้นอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาทไปจนถึงกิโลกรัมละ 300 บาท ซึ่งขึ้นอยู่กับเห็ดแต่ละชนิด อย่างไรก็ตามข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ระบุว่า ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตของประชาชนจากการบริโภคเห็ด แต่พบเพียงผู้ป่วยอาหารเป็นพิษเท่านั้น

เห็ดป่า (Wild mushrooms) มีหลากหลายตระกูลด้วยกัน ส่วนใหญ่ที่พบเห็นได้จากการเดินเข้าไปในป่า จะเป็นจำพวกที่มีคุณประโยชน์ หลายๆ ตระกูลจะเติบโตได้ต้องอาศัยแหล่งอาหารเฉพาะ ซึ่งพบเห็นได้ภายใต้หรือใกล้ต้นไม้บางชนิดเท่านั้น อาทิ ต้นสนและต้นโอ๊ค

เห็ดบางชนิดมีความสำคัญต่อการเสื่อมสลายของสิ่งมีชีวิต (Decay organisms) ช่วยในการสลายตัว (Breakdown) ของซุง ใบไม้ ลำต้น และซากสิ่งมีชีวิต บทบาทที่สำคัญของเห็ด ยังผลให้เกิดการหมุนเวียนน (Recycling) ของสารอาหาร (Nutrients) ที่จำเป็น

เห็ดบางชนิดขึ้นเป็นแถวและก่อตัวจากโครงสร้างของผลไม้ (Fruiting structure) บนต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ เป็นสาเหตุให้เกิดการเสื่อมสลายของส่วนนิ่มของไม้ที่อยู่ระหว่างเปลือกในกับเนื้อไม้แกนกลางลำต้น (Sapwood) หรือแก่นไม้ไส้ไม้ [ของลำต้น] (Heartwood) เห็ดป่าหลายชนิด มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตหรือความอยู่รอด (Survival) ของต้นไม้ที่อาศัยอยู่

เห็ดช่วยสร้างความสัมพันธ์ [ที่ดี] ระหว่างรากของต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน เรียก “Mycorrhizal mushrooms” คำว่า “Mychorhizal” หมายถึง รากเชื้อราที่เกิดขึ้น เนื่องจากการอยู่ร่วมกันของเชื้อรา เห็ดทุกชนิด ไม่ว่าจะมีพิษ หรือกินได้ อาจมีความสวยงามที่น่าชื่นชม จากความหลากหลายของรูปแบบ สี และเนื้อ (Texture)

เห็ดที่กินได้บางชนิดมีรูปร่างที่คล้ายกับเห็ดพิษ (Poisonous mushroom) และอาจเติบโตอยู่ในที่เดียวกัน เห็ดที่กินได้ มีความปลอดภัยในการบริโภค เพราะเคยมีผู้บริโภคมาก่อน และบ่อยครั้ง โดยปราศจากผลกระทบใดๆ ส่วนเห็ดพิษนั้นเป็นที่รับรู้กัน ว่าเคยมีผู้บริโภคแล้วป่วยหรือตาย

ไม่มีการทดสอบใด หรือลักษณะที่จะแยกแยะเห็ดกินได้จากเห็ดพิษ จึงมีความจำเป็นต้องค้นหาด้วยความแน่ชัดว่า ตระกูลใดที่พิสูจน์มาก่อนหน้าแล้วว่า กินได้ ในขณะเดียวกัน ก็ควรเลือกเก็บเห็ดที่ปลอดภัยเท่านั้น และเรียนรู้การบ่งบอกเห็ดพิษ โดยเฉพาะชนิดที่คล้ายคลึงกับเห็ดกินได้ นอกจากนี้ยังต้องเรียนรู้ถึงตระกูล Amanita ซึ่งเป็นเห็ดพิษโดยฉพาะ และให้ความสำคัญแก่สารพิษที่อาจก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บร้ายแรง และในบางกรณี อาจถึงแก่ชีวิตได้

แหล่งข้อมูล:

  1. สสจ. กาฬสินธุ์เตือนบริโภคเห็ดป่าหน้าฝน เจอเห็ดพิษเสียงถึงตาย http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000108177&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2012, September 9].li>
  2. Wild Mushrooms. http://ohioline.osu.edu/hyg-fact/3000/3303.html [2012, September 9].