ระวังทีเด็ด เห็ดป่าหน้าฝน (ตอนที่ 1)

นายแพทย์พิสิทธิ์ เอื้อวงศ์กูล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เตือนประชาชนที่บริโภคเห็ดป่าช่วงฤดูฝน ให้ระวังเห็ดพิษที่มีความเสี่ยงถึงตาย ในขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากฝนได้ตกลงมาในช่วง 2 - 3 วัน ทำให้เห็ดป่าที่อยู่ตามธรรมชาติ ได้ออกดอกเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงแห่กันเข้าไปเก็บเห็ดป่า เพื่อนำมาประกอบอาหารเอง และจำหน่าย สร้างรายได้เสริมในช่วงนี้ได้ดี

เห็ดที่กินได้ (Edible mushrooms) เป็นพืชตระกูลแมคโครฟังไจ (Macrofungi) มีโครงสร้างของผลไม้ (Fruiting structure) ที่ใหญ่พอเห็นได้ด้วยตาเปล่า เต็มไปด้วยเนื้อ (Texture) ที่น่ารับประทาน ปรากฏใต้พื้นดิน (Hypogeous) หรือเหนือพื้นดิน (Epigeous) ซึ่งอาจถูกเด็ดได้ง่าย

นิยามของคำว่า “กินได้” (Edibility) มีหลักเกณฑ์หลายอย่าง รวมทั้งการปราศจากผลกระทบของพิษ (Poisons) ต่อมนุษย์ รสชาติที่พึงปรารถนา และกลิ่นหอมหวล (Aroma) มนุษย์บริโภคเห็ดที่กินได้ เพราะคุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition) และ (บางครั้ง) ทางยา (Medicine) โดยเฉพาะยาพื้นบ้าน (Folk medicine) เรียกว่า “เห็ดยา” (Medicinal mushrooms)

เห็ดอีกชนิดหนึ่งให้ผลทางจิตเป็นอาการหลอนประสาท เรียกว่า “เห็ดหลอน” (Hallucinogenic mushrooms) ซึ่งได้รับการบริโภคเพื่อสันทนาการ (Recreation) หรือทางศาสนา (Religion) โดยก่อให้เกิดอาการคลื่นเหียน (Nausea) รุนแรง และสับสน (Disorientation) จึงไม่จัดเป็นเห็ดประเภทที่กินได้

เห็ดที่กินได้ รวมถึงฟังไจหลากหลายตระกูล ซึ่งอาจเป็นเห็ด [เก็บเกี่ยวตาม] ป่า (Harvested wild) หรือ เห็ดปลูก [เอง] (Cultivated) เห็ดทั้งสองชนิดสามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาดทั่วไป สำหรับเห็ดที่หายาก อาจมีผู้เก็บสะสมแต่ไม่มาก [พอเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือน] แต่บางชนิดก็อาจะเป็นเห็ดพิษ ไม่เหมาะสำหรับบริโภค

ก่อนสันนิษฐานว่าเห็ดป่าชนิดใดกินได้ ต้องมีการแยกแยะตระกูลของเห็ด จึงจะปลอดภัยไร้กังวล แม้เห็ดบางชนิดที่กินได้สำหรับคนทั่วไป ก็อาจเป็นสาเหตุของปฏิกิริยาภูมิแพ้ (Allergic reactions) ในบางคน และบางตัวอย่างที่เก็บไว้ไม่เหมาะสมหรือเก่านานเกินไป ก็อาจเป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ (Food poisoning)

คนส่วนใหญ่มักสับสนระหว่าง “เห็ดพิษ” (Poisonous mushroom) ร้ายแรง กับ “เห็ดกินได้” แต่ก่อให้เกิดพิษมากมายจนถึงอันตรายแก่ชีวิต อันได้แก่พันธ์ Amanita โดยเฉพาะ Amanita phalloides หรือ Death cap บริเวณที่เห็ดเติบโตได้อย่างงดงามมักอยู่ ณ สถานที่ที่เป็นมลพิษ ซึ่งสามารถสะสมสารพิษ (Pollutant) ได้ อาทิ โลหะหนัก (Heavy metals)

เห็ดป่าบางชนิดก็เป็นพิษ และบางชนิดก็กินได้และอร่อยด้วยหากได้รับการปรุงแต่งอย่างเหมาะสม เห็ดขนาดเล็กหรือมีเนื้อน้อย รสชาติก็ไม่ดี มักไม่นับเป็นอาหาร แม้ไม่ใช่ทุกคนจะสนใจเก็บเห็ดมารับประทาน แต่ต้องเข้าใจความสำคัญของบทบาทหรือคุณประโยชน์ของเห็ดในสภาพแวดล้อมด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. สสจ. กาฬสินธุ์เตือนบริโภคเห็ดป่าหน้าฝน เจอเห็ดพิษเสียงถึงตาย http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000108177&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2012, September 8].li>
  2. Edible mushroom. http://en.wikipedia.org/wiki/Edible_mushroom [2012, September 8].
  3. Wild Mushrooms http://ohioline.osu.edu/hyg-fact/3000/3303.html [2012, September 8].