'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 9 และตอนจบ)

นักจิตวิทยาประสาท (Neuropsychological) ได้รายงานการศึกษาที่ยากลำบากต่อความเข้าใจของนักการศึกษา (Educator) ผลลัพธ์คือช่องว่างระหว่างรายงานคำแนะนำและการศึกษาที่ได้จัดเตรียม จึงไม่รู้ว่าโปรแกรมการรักษาสำหรับเด็กออทิสติก นำไปสู่การพัฒนาดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ หลังจากเด็กๆ ได้เจริญเติบโตขึ้น

ยาหลายตัวที่ใช้รักษาอาการออทิสติก ซึ่งรบกวนบูรณาการของเด็กให้เข้ากับสภาพภายในบ้านหรือโรงเรียน เมื่อการรักษาพฤติกรรมล้มเหลว มากกว่าครึ่งหนึ่งของเด็กในสหรัฐอเมริกาที่ถูกได้รับวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก ได้รับการสั่งจ่ายยาทางจิตเวชหรือยากันชักกับยากลุ่มธรรมดาโดยทั่วไป เช่น ยาแก้อาการซึมเศร้า ยากระตุ้น และยาจิตเวช ยังมีงานวิจัยที่เชื่อถือได้ไม่เพียงพอ เกี่ยวกับประสิทธิผลหรือความปลอดภัยของยาที่ใช้รักษาวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่เป็นออทิสติก กลุ่มคนเหล่านี้ อาจจะตอบสนองไม่เจาะจงต่อยา หรือยาอาจมีผลข้างเคียง และยังไม่ทราบว่า ยาสามารถบรรเทาอาการหลักของเด็กออทิสติกในเรื่องความบกพร่องทางสังคมและการสื่อสาร ได้จริงหรือไม่ แม้ว่าการรักษามีทางเลือกมากมายที่แพร่หลาย แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการสนับสนุนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการรักษาที่ได้รับการสนับสนุนจากการทดลอง (Empirical) มีน้อยมากในเรื่องคุณภาพชีวิต ความหลากหลายของโปรแกรมได้พุ่งเป้าไปยังการวัดความสำเร็จ ซึ่งขาดความสัมพันธ์กับโลกแห่งความจริง ปรากฎว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ มีความสำคัญสำหรับผู้ให้บริการ น้อยกว่าการโฆษณาชวนเชื่อ การฝึกอบรม และข้อเรียกร้องจากผู้ปกครอง การรักษาทางเลือกบางอย่างอาจจะเป็นความเสี่ยงสำหรับเด็กก็ได้ จากการศึกษา ในปี พ.ศ. 2551 ได้พบว่า เด็กออติสติกมีกระดูกที่บางกว่าเด็กปกติอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าไม่กินนม (Casein-free diet) ต้นทุนการรักษาแพงมาก การศึกษาในสหรัฐอเมริกา ประมาณการว่า ค่าเฉลี่ยของต้นทุนตลอดของชีวิต (Lifetime) ของผู้ที่เกิดในปี พ.ศ. 2543 อยู่ที่ 118.2 ล้านบาท โดยที่ประมาณ 10% เป็นค่าดูแลทางการแพทย์ 30% เป็นค่าการศึกษาพิเศษ และค่าดูแลอื่นๆ และ 60% เป็นการสูญเสียจากผลิตภาพทางเศรษฐกิจ (Economic activity) ในปัจจุบัน โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมจากภาครัฐ ไม่ค่อยเพียงพอ หรือไม่เหมาะสมสำหรับเด็ก และไม่สามารถเบิกคืนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ และค่ารักษาที่เกี่ยวข้องกัน จนเป็นปัญหาทางการเงินภายในครอบครัว การศึกษาชิ้นหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2551 พบว่า 14% คือตัวเลขถัวเฉลี่ยของการสูญเสียรายได้ต่อปีในครอบครัว ที่ดูแลเด็กออทิสติก และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกันยังพบว่า ปัญหาการดูแลเด็กออทิสติก จะมีผลต่อการทำงานของผู้ปกครองอย่างมาก รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้เพิ่มการประกันสุขภาพภาคบังคับ โดยผ่านบริษัทประกันเอกชนเพื่อครอบคลุมบริการเด็กออทิสติก โดยหวัง โยกย้ายภาระจากโปรแกรมกองทุนการศึกษาสาธารณะไปยังกองทุนประกันเอกชน หลังจากวัยเด็ก ประเด็นการรักษา ได้รวมถึงการดูแลที่อยู่อาศัย การสอนงานและหาอาชีพให้ รวมทั้งพัฒนาการทักษะทางสังคม เป็นต้น

แหล่งข้อมูล:

  1. มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV [2013, August 22].
  2. Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism [2023, August 22].