ยามเอ็นไม่เล่นด้วย (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ยามเอ็นไม่เล่นด้วย-4

      

      ซึ่งแพทย์อาจให้การรักษาที่มากขึ้นอย่าง

  • การฉีดสเตียรอยด์ (Corticosteroid injections) เนื่องจากออกฤทธิ์เร็วในการลดอาการอักเสบและเจ็บ แต่ไม่แนะนำให้ใช้ในกรณีเอ็นอักเสบเรื้อรังมานานกว่า 3 เดือน เพราะการฉีดบ่อยๆ อาจทำให้เอ็นอ่อนแอและเพิ่มความเสี่ยงในการฉีกขาดอีก
  • การฉีด PRP (Platelet-rich plasma) เข้าสู่จุดที่มีการบาดเจ็บ สามารถช่วยลดอาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อให้หายจากอาการบาดเจ็บ และยังช่วยให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วที่สำคัญคือ ไม่เป็นอันตรายเนื่องจากเป็นส่วนประกอบจากเลือดของผู้ป่วยเอง

[Platelet Rich Plasma เป็นการรักษาด้วยเกล็ดเลือดของผู้ป่วย โดยใช้เลือดของผู้ป่วยนำมาคัดแยก ซึ่งในเลือดจะประกอบไปด้วย เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด ภายในเกล็ดเลือดประกอบไปด้วยสารที่สำคัญต่อการแข็งตัวของเลือดและ Growth Factor โดยการนำเลือดมาปั่นแล้วฉีดกลับเข้าไปในบริเวณที่มีอาการบาดเจ็บ เกล็ดเลือดจะถูกกระตุ้นให้รวมตัวกันและปล่อยสารที่มีประโยชน์นี้ไปกระตุ้นให้เกิดกระบวนการซ่อมแซม จึงสามารถบรรเทาอาการปวดและส่งเสริมการเร่งฟื้นฟูได้]

  • การใช้คลื่นกระแทก (Shockwave therapy)
  • กายภาพบำบัด (Physical therapy)
  • การใช้เข็มแทงเข้าไปบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงเพื่อกระตุ้นให้เอ็นรักษาตัวเอง (Dry needling)
  • การผ่าตัด แต่เป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยมใช้ จะใช้เมื่อวิธีการรักษาอื่นไม่ได้ผลแล้ว

      ส่วนการป้องกันเอ็นอักเสบสามารถทำได้ด้วยการ

  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกดบนเส้นเอ็นเป็นระยะเวลานาน ถ้ารู้สึกปวดให้หยุดและพัก
  • ออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบและค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อและเอ็นที่จะใช้ออกกำลังกาย
  • มีทั้งการอบอุ่นร่างกาย (Warm-up) ก่อนการออกกำลังกาย และยืดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย (Cool-down)

      ทั้งนี้ ควรทำการอบอุ่นร่างกาย 5 นาที ต่อการออกกำลังกายทุก 30 นาที เช่น ถ้าต้องการออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง ควรทำการอบอุ่นร่างกายเป็นเวลา 10 นาที

  • ศึกษาเกี่ยวกับการจัดวางรูปแบบของที่ทำงานและอุปกรณ์สำนักงานให้เหมาะสม สะดวก ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ (Workplace ergonomics)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อซ้ำๆ
  • ใช้รองเท้าหรืออุปกรณ์ที่เหมาะกับตัวเอง

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Tendinitis. https://www.webmd.com/fitness-exercise/arthritis-tendinitis#1 [2018, January 5].
  2. Tendinitis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tendinitis/symptoms-causes/syc-20378243 [2018, January 5].
  3. Tendonitis. https://www.nhs.uk/conditions/tendonitis/ [2018, January 5].