ยาฝังคุมกำเนิด (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ยาฝังคุมกำเนิด-4

      

      ข้อเสียของยาฝังคุมกำเนิด (ต่อ)

  • อาจทำให้เป็นสิวหรืออาจทำให้สิวแย่ลง
  • ไม่สามารถใช้ยากลุ่มเอนไซม์อินดิวเซอร์ (Enzyme-inducing drugs)
  • ยาฝังคุมกำเนิดไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmissible infections = STIs) ได้ ดังนั้น ยังคงต้องใช้ถุงยางอนามัยด้วยในการป้องกันโรค

      ทั้งนี้ ยาฝังคุมกำเนิดอาจไม่เหมาะกับผู้ที่

  • คาดว่าจะท้อง
  • ไม่ต้องการให้ประจำเดือนมีการเปลี่ยนแปลง
  • ใช้ยาบางชนิดที่อาจทำให้ยาฝังคุมกำเนิดไม่ได้ผลเท่าที่ควร ซึ่งได้แก่ ยาที่ใช้รักษา

      - การติดเชื้อเฮชไอวี

      - โรคลมบ้าหมู (Epilepsy)

      - วัณโรค (Tuberculosis) และ

      - ยาสมุนไพรที่ชื่อ St. John's wort

  • เป็นหรือเคยเป็นโรคดังต่อไปนี้

      - โรคหลอดเลือดแดง (Arterial disease) หรือมีประวัติการเป็นโรคหัวใจ หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)

      - โรคเกี่ยวกับตับ

      - โรคมะเร็งเต้านม

      - มีเลือดออกทางช่องคลอด เช่น กรณีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์

      สำหรับเรื่องความเสี่ยงของยาฝังคุมกำเนิดนั้นไม่ค่อยมี ยกเว้น เรื่องโรคมะเร็งเต้านมที่งานวิจัยในปัจจุบันยังมีความสับสนและขัดแย้งกันอยู่ว่า ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน (Hormonal contraception) อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงเล็กน้อยในการเป็นมะเร็งเต้านมเมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมน

      นอกจากนี้ ยังมีผลการศึกษาบางฉบับที่กล่าวว่า ยาฝังคุมกำเนิดจะไม่มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในน้ำหนักตัว อารมณ์ ความต้องการทางเพศ หรือทำให้ปวดศีรษะแต่อย่างใด

แหล่งข้อมูล:

  1. Contraceptive implant. http://www.familyplanning.org.nz/advice/contraception/contraceptive-implant [2018, July 17].
  2. Contraceptive implant. https://sexwise.fpa.org.uk/contraception/contraceptive-implant [2018, July 17].
  3. Contraceptive implant. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/contraceptive-implant/about/pac-20393619 [2018, July 17].