ยากระษัย ยากษัย (Wasting disease drug)

บทนำ

คำว่า “กระษัย หรือ กษัย” หลายคนคงสงสัยว่า คืออะไร เป็นอย่างไร แต่คนรุ่นผู้ใหญ่หรือคนแก่คนเฒ่า คงจะคุ้นเคยกับคำนี้มาบ้างแล้ว มาลองทำความรู้จักกับโรคนี้ดูว่า มันเป็นอย่างไรกันแน่ ทำไมจึงพูดกันถึงโรคนี้อยู่บ่อยๆ แต่ก่อนอื่น เราต้องเข้าใจด้วยว่า โรคกระษัยนี้ เป็นชื่อเรียกอา การโรคชนิดหนึ่งในทรรศนะของแพทย์แผนโบราณไทย

อนึ่ง กระษัย หรือ กษัย ตามความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้ง ตัวเหลือง เท้าเย็น

กระษัยหมายถึงโรคอะไร?

โรคกระษัย ตามความหมายของแพทย์แผนโบราณ เขาถือว่า เป็นโรคของความเสื่อมโทรมของร่างกาย โดยไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค

ทางแผนโบราณถือว่าร่างกายของคนเราเกิดจากธาตุทั้ง 4 มารวมกัน มีธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และธาตุทั้ง 4 มันได้เสื่อมหน้าที่ของมัน จึงทำให้ร่างกายอ่อนแอ ทรุดโทรมลง ทำงานไม่ได้ตาม ปกติ

การทำงานผิดปกติไปของธาตุทั้ง 4 อย่างเช่น

  • ธาตุดิน เช่น กระดูก (ซึ่งถือว่าเป็นกองดินกองหนึ่ง) ผิดปกติไป ก็ถือว่าธาตุดินผิดปกติ
  • ธาตุน้ำ เช่น ถ้าเลือด (ซึ่งถือว่าเป็นกองน้ำกองหนึ่ง) น้อยลง ก็ถือว่าธาตุน้ำผิดปกติ
  • ธาตุลม เช่น แรงที่ดันให้เลือดเดิน (ซึ่งถือว่าเป็นลมกองหนึ่ง) เมื่อเลือดไม่สูบฉีด หรือสูบฉีดไม่ดี ก็ถือว่าธาตุลมผิดปกติ
  • ธาตุไฟ เช่น ถ้าน้ำย่อยอาหาร (ซึ่งถือเป็นกองไฟกองหนึ่ง) ไม่ทำงานก็ถือว่าธาตุไฟผิดปกติ

เมื่อธาตุทั้ง 4 มันเสื่อม สุขภาพร่างกายก็จะเสื่อมลง สรุปแล้ว กระษัยจึงมีความหมายกว้างมาก เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมโทรมของร่างกาย (ธาตุทั้ง 4) นั่นเอง

ธาตุทั้ง 4 มีอะไรบ้าง?

  • ธาตุดิน มี 20 กอง เช่น เนื้อ กระดูก เส้นเอ็น ตับ กระเพาะ ลำไส้ ผม ฟัน หนัง ฯลฯ
  • ธาตุน้ำ มี 12 กอง เช่น น้ำลาย น้ำมูก น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี น้ำโลหิต น้ำปัสสาวะ ฯลฯ
  • ธาตุลม มี 6 กอง เช่น ลมพัดจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง จึงทำให้เลือดลมเดินดี ฯลฯ
  • ธาตุไฟ มี 4 กอง เช่น ทำให้ร่างกายอบอุ่น (ถ้าหมดอุ่นก็ตาย) ช่วยย่อยอาหาร ฯลฯ

อาการของโรคกระษัย

โรคกระษัยนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 พวก มี กระษัยโอปาติกะ (คือ เกิดขึ้นมีอาการหลายจำพวก ) กับ กระษัยกล่อน

  • อาการของโรคกระษัยโอปาติกะ กระษัยประเภทนี้ จะกินไม่ได้ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย อาจ จะมีอาเจียน ง่วงเหงาหาวนอน ไม่เป็นอันที่จะทำอะไร ปวดท้องน้อย ปวดเมื่อยไปหมด ซูบผอมลง เหงื่อออกตามฝ่ามือ ฝ่าเท้า สมองมึนงง ถ้าถูกอากาศเย็นหรือที่ชื้นแฉะหรืออยู่ในน้ำ จะปัสสาวะบ่อย มีอาการจุกเสียด แน่น ปวดท้อง น่องหมดแรง
  • อาการของโรคกระษัยกล่อน (กล่อน ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ชื่อโรคชนิดหนึ่ง) กระษัยประเภทนี้จะมีอาการ เส้นท้องตึง เจ็บสะเอว มือเท้าชา วิงเวียน ตาฝ้าฟาง หูอื้อ ท้องขึ้น/ท้องอืด กินอาหารไม่ได้ มักปวดเสียดแทงตั้งแต่หัวหน่าว ถึง ยอดอก มักมีลำ มีก้อน ตามท้องน้อย และจะถ่วงเป็นก้อนอยู่ที่หัวหน่าว และที่หน้าขาทั้ง 2 ข้าง แล้วเลื่อนลงไปถึงลูกอัณฑะ อัณฑะเกิดฟกช้ำ บวม อักเสบ จับต้องไม่ได้ เพราะเจ็บปวดเป็นก้อน เป็นเถา/เป็นลำ (ก้อนยาว)

อาการเหล่านี้ เป็นได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ถ้าเป็นผู้หญิงจะมีอาการเจ็บท้องน้อย ถ่วงคล้ายไส้เลื่อน แต่ในโรคไส้เลื่อนนั้น คนที่เป็นจะกินอาหารได้ และนอนหลับสบาย จะมีอาการเฉพาะเจ็บเสียดท้องน้อย แต่คนที่เป็นกระษัยกล่อน จะหาความสบายไม่ได้ คือจิตใจไม่สบายเหมือนกับคนเป็นโรคประสาท กินไม่ได้ มึนงง/วิงเวียน นอนไม่หลับ ผอมแห้งแรงน้อย

ยาแผนโบราณเขาตรวจเขารักษาอย่างไร?

การตรวจโรคกระษัย ทางแพทย์แผนโบราณ ใช้วิธีสอบถามอาการ จากคำบอกเล่าของผู้ ป่วย ดูอาการแสดง สอบถามความเป็นมาของอาการ เป็นนานเท่าใด กินนอนได้ไหม เป็นอย่างไร

การรักษาของแพทย์แผนโบราณนั้น เขาจะถือว่าคนที่เป็นโรคนั้น สะสมของไม่ดีไว้ หรือหมักโรคไว้ ต้องถ่ายเอาโรคหรือของเก่าที่ไม่ดีในร่างกายออกมาทิ้งให้หมด แล้วค่อยกินยาไปรัก ษา หรือบำรุงให้ร่างกายแข็งแรงเหมือนเดิม

เราจึงใช้คำว่า ยารุ/ยาถ่าย (รุ ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ระบายสิ่งที่ไม่ต้องการออกไป) กับยาบำรุง ซึ่งทำให้คนเข้าใจผิดว่า ทำไมแผนโบ ราณต้องถ่ายกับต้องบำรุง เพราะการมองปัญหา และวิธีแก้ปัญหาแตกต่างกับแพทย์แผนปัจจุบัน

ยากระษัย ที่มีขายตามท้องตลาด มีหลายตราสินค้า เช่น

1. ยากระษัย/กษัยเส้น ตราเทพธิดา ชนิดน้ำ

สรรพคุณ : แก้กษัยเส้นหรือปวดเมื่อยตามร่างกาย (เส้นตึง เอ็นตึง ปวดขา ปวดเข่า) ปรับธาตุ 4 ให้เป็นปกติ แก้แพ้ผื่นคัน ช่วยเจริญอาหาร รับประทานได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

วิธีใช้ รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ เช้า – เย็น

ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และในเด็ก

ข้อควรระวัง:

  • ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มป้องกันเลือดเป็นลิ่มเลือด (Anticoagulant) และ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)
  • ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่อง จากอาจเกิดการสะสมของสมุนไพรการบูร จึงอาจเกิดพิษต่อ ตับ ไตได้

2. ยากษัยเส้นเด็กในพานทอง ชนิดเม็ด

ข้อบ่งใช้ : บรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้กษัยเส้น กษัยลม แก้ท้องเป็นเถา ใช้เป็นยาระ บาย

ส่วนประกอบตัวยา 846 กรัม : โกฎกระดูก 15 กรัม, มะขามป้อม 30 กรัม, สมอไทย 60 กรัม, โกฎน้ำเต้า 180 กรัม, ยาดำ 60 กรัม

วิธีใช้ รับประทานก่อนอาหารเช้าวันละ 1 ครั้ง

  • ธาตุเบา (ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง กินยาระบายอ่อนๆก็ถ่าย) 2 เม็ด
  • ธาตุกลาง 3 เม็ด
  • ธาตุหนัก (ความหมายจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 หมายถึง ต้องกินยาถ่ายมากๆจึงจะถ่าย) 4 เม็ด
  • ซึ่งถ้าต้องการระบายอ่อนๆ รับประทานครั้งละ 1 เม็ด

ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และในเด็ก

ข้อควรระวัง:

  • ควรระวังการรับประทานร่วมกับยาในกลุ่มสารกันเลือดเป็นลิ่ม (Anticoagulant) และ ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (Antiplatelets)
  • ควรระวังการใช้ยาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ตับ ไต เนื่อง จากอาจเกิดการสะสมของสมุนไพรการบูร จึงอาจเกิดพิษกับ ตับ ไต ได้

บรรณานุกรม

  1. http://www.doctor.or.th/article/detail/5952 [2013,Dec25].