มาลาเรียไม่กลัวเหล้าหรอกนะจะบอกให้ (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

มาลาเรียไม่กลัวเหล้าหรอกนะจะบอกให้

ยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อมาลาเรีย เช่น

  • ยา Chloroquine เป็นยาที่ใช้รักษาได้ดีกับการติดเชื้อ P. ovale หรือ P. malariae เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ นอกจากนี้ยังใช้รักษาการติดเชื้อ P. falciparum และ P. vivax ในพื้นที่ที่ไม่มีการดื้อยา Chloroquine
  • ยา Coartem เป็นยาที่มีส่วนผสมระหว่างยา Artemether และยา Lumefantrine ใช้รักษาการติดเชื้อ P. falciparum

ส่วนการรักษาด้วยการถ่ายเลือด (Exchange blood transfusions) อาจใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เช่น

  • มีการติดเชื้อในเซลล์เม็ดเลือดมากกว่าร้อยละ 10
  • มีระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนไป (Severe confusion) เพราะการติดเชื้อ
  • มีภาวะแทรกซ้อนในปอดหรือไต

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่รุนแรงของมาลาเรีย ได้แก่

  • โรคโลหิตจางอย่างรุนแรง (Severe anaemia) – เกิดเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทำให้มีอาการเซื่องซึม (Drowsiness) และอ่อนแรง
  • มาลาเรียขึ้นสมอง (Cerebral malaria) – เกิดเมื่อหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกปิดกั้น ทำให้เกิดอาการชัก สมองถูกทำลาย และหมดความรู้สึก

นอกจากนี้ยังอาการแทรกซ้อนอย่างอื่น ได้แก่

  • ตับวายและเป็นดีซ่าน
  • ช็อคเพราะความดันโลหิตตก
  • ภาวะปอดบวมน้ํา (Pulmonary edema)
  • ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycaemia)
  • ไตวาย
  • ม้ามบวมและฉีก
  • ภาวะขาดน้ำ (ehydration)

ในส่วนของหญิงมีครรภ์ มาลาเรียอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังนี้

  • คลอดก่อนกำหนด (Premature birth) หรือคลอดก่อนสัปดาห์ที่ 37 ของการตั้งครรภ์
  • น้ำหนักตัวเด็กน้อย
  • ทารกในครรภ์ถูกจำกัดการเจริญเติบโต
  • คลอดแบบทารกตายในครรภ์ (Stillbirth)
  • แท้ง (Miscarriage)
  • แม่เสียชีวิต

แหล่งข้อมูล

1. Malaria. http://www.webmd.com/a-to-z-guides/malaria-topic-overview [2016, August 9].

2. Malaria. http://www.nhs.uk/conditions/Malaria/Pages/Introduction.aspx [2016, August 9].