มะเร็งเส้นประสาท (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

นพ.ธีรวุฒิ ยังกล่าวอีกว่า การเกิดมะเร็งในกลุ่มวัยรุ่นนั้น นอกจากมะเร็งระบบเส้นประสาท หรือมะเร็งที่เกิดจากปมประสาทผิดปกติแล้ว ยังมีมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งที่เกิดจากเซลล์ผิดปกติต่างๆ ซึ่งกลุ่มพวกนี้มาจากตั้งแต่เด็กแต่ไม่ทราบ หรืออาจเกิดตั้งแต่ตั้งครรภ์ ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม

นอกจากนี้ ยังมีมะเร็งที่เกิดจากพฤติกรรมของตัววัยรุ่นเองด้วย เช่น การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เมื่อสะสมไปนานๆ ก็ก่อให้เกิดมะเร็งปอดและมะเร็งตับได้เช่นกัน และที่ต้องการเตือนก็คือ การเจ็บป่วยหรือมีอาการปวดบริเวณใด ยิ่งเจ็บปวดเรื้อรังควรไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรซื้อยากินเอง และไม่ควรเปลี่ยนแพทย์บ่อย เพราะจะทำให้เสียโอกาสการรักษา ทำให้ต้องตรวจวินิจฉัยใหม่อยู่เรื่อยๆ ซึ่งอาจทำให้อาการยิ่งทรุด

นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวในตอนท้ายว่า ไม่ว่าจะโรคอะไรก็ตาม หากรู้จักป้องกันและลดความเสี่ยง ก็สามารถห่างไกลโรคไม่ยาก ง่ายๆ เพียง 12 ข้อ พึงปฏิบัติ

โดยแบ่งเป็นการป้องกัน 5 ข้อ คือ

  1. กินผักตระกูลกะหล่ำให้มาก เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก ผักคะน้า หัวผักกาด บร็อกโคลี ฯลฯ
  2. กินอาหารที่มีกากมาก เช่น ผัก ผลไม้ ข้าว ข้าวโพด และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ
  3. กินอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีน และวิตามินเอสูง เช่น ผัก ผลไม้ สีเขียว-เหลือง
  4. กินอาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ผัก ผลไม้ต่างๆ
  5. ควบคุมน้ำหนักตัว

ส่วนการลดความเสี่ยง 7 ข้อ คือ

  • ไม่กินอาหารที่มีราขึ้น
  • ลดอาหารไขมัน
  • ลดอาหารดอง เค็ม ปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรต-ไนไตรต์
  • ไม่กินอาหารสุกๆ ดิบๆ เช่น ก้อยปลา ปลาจ่อม ฯลฯ
  • หยุดหรือลดการสูบบุหรี่
  • ลดการดื่มแอลกอฮอล์
  • อย่าตากแดด
  • นอกจากนี้ ให้หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ รู้จักผ่อนคลาย และไม่เครียดจนเกินไป

    แหล่งข้อมูล:

    1. คุณหมอเตือนภัย โรคร้ายของวัยทีน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373688910&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, July 15].