มะเร็งผิวหนังจากแดดจ้า (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

มะเร็งผิวหนังจากแดดจ้า

การรักษามะเร็งผิวหนัง (ต่อ)

  • การขูดโดยใช้เครื่องมือขูดร่วมกับการจี้ไฟฟ้า (Curettage and electrodesiccation) หรือการบำบัดโดยวิธีจี้เย็น (Cryotherapy) เป็นวิธีการที่ง่ายและเร็ว มักใช้ในการรักษามะเร็งผิวหนังชนิดเบซาลเซลล์หรือมะเร็งผิวหนังชนิดสะความัส
  • รังสีรักษา (Radiation therapy) โดยใช้ลำแสงพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ อาจใช้เป็นทางเลือกกรณีไม่สามารถเอามะเร็งออกด้วยการผ่าตัดได้ทั้งหมด
  • เคมีบำบัด (Chemotherapy) กรณีที่เป็นบนผิวส่วนบนอาจใช้เพียงครีมหรือโลชั่นที่มีสารฆ่ามะเร็งทาผิว แต่กรณีที่มีการกระจายตัวอาจต้องรักษาด้วยการให้ยาเคมีบาบัด (Systemic chemotherapy).
  • การรักษาด้วยแสงจำเพาะ (Photodynamic therapy) เป็นการรักษาด้วยแสงเลเซอร์ร่วมกับยาที่ทำให้เซลล์มะเร็งไวต่อแสง
  • ชีวบำบัด (Biological therapy) เป็นการรักษาด้วยการใช้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายฆ่าเซลล์มะเร็ง

ส่วนใหญ่มะเร็งผิวหนังจะป้องกันได้ โดย

  • หลีกเลี่ยงแสงแดดจัดตอนกลางวัน (9.00 – 15.00 น.)
  • ทากันแดดที่มีค่า SPF อย่างต่ำที่ 15
  • ควรใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมหมวก กางร่ม ใส่แว่นกันแดด
  • หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้ไวต่อแสง (Sun-sensitizing medications)
  • คอยสังเกตผิวตนเองว่ามีความผิดปกติใดๆ

อนึ่ง รังสียูวี (UV rays) เป็นรังสีที่มองไม่เห็น มีแหล่งที่มาจาก แสงอาทิตย์ หลอดไฟอุลตราไวโอเลต (Sunlamps) ซึ่งรังสีสามารถเข้าสู่ผิวหนังและเปลี่ยนเซลล์ผิวได้

โดยรังสียูวี แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

  • รังสียูวีเอ (Ultraviolet A = UVA) เป็นรังสีที่ฉายลงบนผิวโลกมากที่สุด และกระทบผิวหนังชั้นบนของมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ารังสียูวีเอสามารถทำลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue) และเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนัง
  • รังสียูวีบี (Ultraviolet B = UVB) เป็นรังสีที่ส่วนใหญ่ถูกซึบซับในชั้นโอโซน ดังนั้นจึงมาถึงผิวโลกได้น้อยกว่ารังสียูวีเอ โดยรังสียูวีบีจะช่วยในการสร้างวิตามินดีในผิวหนัง สามารถทำลายผิวหนังได้แต่น้อยกว่ารังสียูวีเอ
  • รังสียูวีซี (Ultraviolet C = UVC) เป็นรังสีที่อันตรายมาก ถูกซึบซับในชั้นโอโซน ดังนั้นจึงไม่ตกมาถึงผิวโลก

ทั้งนี้ การสัมผัสกับรังสียูวีที่มาก จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเนื้อผิวทำให้ผิวถูกทำลายอย่างถาวร และทำให้เป็นมะเร็งผิวหนัง นอกจากนี้ยังทำให้เป็นต้อกระจก (Cataracts) ด้วย

แหล่งข้อมูล

    1. Skin cancerhttp://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/skin-cancer/basics/definition/con-20031606 [2016, May 7].
    2. Skin cancerhttp://www.cdc.gov/cancer/skin/ [2016, May 7].