มะเร็งทวารหนัก...โรคเสี่ยงเพศสัมพันธ์มาแรงแซงเอดส์ (ตอนที่ 3)

การวินิจฉัยระบุ “ระยะ” (Staging) ของมะเร็ง เพื่อให้แพทย์สามารถกำหนดวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด ได้แก่

  • การระบุจากภาพถ่ายของเชิงกรานและช่องท้อง โดยการถ่ายภาพเอกซเรย์ที่อาศัยคอมพิวเตอร์ คือ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์(Computerized Tomography : CT)
  • การระบุจากภาพถ่ายของเชิงกรานและช่องท้อง โดยการสร้างภาพตัดขวางจากการสั่นสะเทือนของคลื่นสนาม แม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอมอาร์ไอ (Magnetic Resonance Imaging: MRI)
  • การระบุจากภาพถ่ายของเชิงกรานและช่องท้อง โดยการถ่ายภาพการกระจายตัวของสารเภสัชรังสีที่สลายตัวให้อนุภาคบวก หรือ เพทสะแกน (Positron Emission Tomography: PET) ซึ่งสารเภสัชรังสีเหล่านี้จะแสดงถึงขบวนการชีววิทยาต่างๆ ในร่างกาย ทำให้เราสามารถตรวจขบวนการเผาผลาญ (Metabolism) ที่ผิดปกติของเซลล์ได้ เป็นการตรวจหา การทำงานของเซลล์และผ่านกลวิธีทำให้ออกมาเป็นรูปให้เราเห็น
  • การระบุจากภาพเอกซ์เรย์ช่องอก/เอกซเรย์ปอดของคนไข้ ซึ่งจะช่วยให้เห็นว่ามะเร็งนั้นแพร่กระจายไปถึงปอดหรือกระดูกช่วงอก หรือไม่

“ระยะ” ของมะเร็งทวารหนัก มีอยู่ 4 ระยะหลักด้วยกัน กล่าวคือ

  • ระยะที่หนึ่ง มะเร็งทวารมีขนาด 2 เซนติเมตรหรือน้อยกว่านั้น ขนาดประมาณถั่วลิสงเม็ดหนึ่ง
  • ระยะที่สอง มะเร็งขนาดใหญ่ กว่า 2 เซนติเมตร แต่ยังไม่ลามออกไปนอกช่องทวาร
  • ระยะที่สาม (เอ/A) มะเร็งอาจเป็นขนาดใดก็ได้ และลามไปยังต่อมน้ำเหลือง ใกล้กับลำไส้ตรงหรือบริเวณใกล้เคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรืออวัยวะเพศหญิง
  • ระยะที่สาม (บี/B) มะเร็งอาจเป็นขนาดใดก็ได้ และลามไปยังบริเวณใกล้เคียงและต่อมน้ำเหลือง หรือลามไปยัง ต่อมน้ำเหลืองอีกที่บริเวณ เชิงกราน
  • ระยะที่สี่ มะเร็งทวารหนักลามและ/หรือแพร่กระจายไปถึงส่วนอื่นๆของร่างกาย เลยเชิงกรานออกไปแล้ว

เมื่อแพทย์สามารถระบุ “ระยะ” ของมะเร็งได้แล้ว ก็มาถึงขั้นตอนของการรักษาที่แตกต่างกันออกไปหลายทางเลือก ขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็ง สุขภาพโดยรวม และความประสงค์ส่วนตัวของคนไข้ โดยทั่วไปแพทย์มักเลือกการรักษา แบบผสมผสานระหว่างเคมีบำบัดและการฉายรังสี (รังสีรักษา) ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาส ารรักษาให้หายได้

ในการทำเคมีบำบัดนั้น ยาเคมีจะถูกฉีดเข้าหลอดเลือดหรือเป็นแบบกิน สารเคมีจะเดินทางไป ทั่วร่างกายของผู้ป่วย และฆ่าเซลล์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วได้ อย่างไรก็ตาม ในเวลาเดียวกัน สารเคมีเหล่านี้ก็ทำลายเซลล์จากระบบทางเดิน อาหาร และเซลล์ในปุ่มรากผมเช่นกัน สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดผลข้างเคียง อย่างอาการคลื่นเหียน อาเจียน และผมร่วง

ส่วนการฉายรังสี (Radiation) โดยใช้ลำแสงพลังงานสูง เช่น แสงเอกซ์เรย์พลังงานสูง ในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ระหว่างการรักษานั้น คนไข้จะนอนอยู่บนเตียง และมีเครื่องฉายรังสีขนาดใหญ่เคลื่อนไปรอบๆตัวผู้ป่วย เพื่อฉายรังสีไปยังบริเวณเฉพาะส่วน เพื่อเล็งหามะเร็งของคนไข้ ลำแสงดังกล่าว อาจทำลายเนื้อเยื่อดีบริเวณใกล้เคียงของการฉายรังสีได้ ผลข้างเคียงของวิธีนี้ คือ ผิวอาจแดงและ อาจเจ็บข้างในและบริเวณช่องทวาร รวมไปถึงการแข็งและแคบตัวของช่องทวารด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. [Anal cancer] Tests and diagnosis. http://www.mayoclinic.com/health/anal-cancer/DS00852/DSECTION=tests-and-diagnosis [2012, December 17].
  2. 2. [Anal cancer] Treatments and drugs. http://www.mayoclinic.com/health/anal-cancer/DS00852/DSECTION=treatments-and-drugs [2012, December 17].