มะเร็งทวารหนัก...โรคเสี่ยงเพศสัมพันธ์มาแรงแซงเอดส์ (ตอนที่ 2)

มะเร็งทางทวารหนักนั้นเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับเชื้อเอชพีวี (Human papillomavirus: HPV) ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อ ผ่านการสัมผัส โดยส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัสผ่านเข้าทางเยื่อบุ อวัยวะเพศหรือปาก มดลูกเมื่อมีแผลหรือรอยถลอก อันเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

เนื้อเยื่อบริเวณทวารหนัก มีลักษณะคล้ายกับบริเวณปาก มดลูก จึงเป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของมะเร็งทวารหนัก เช่นเดียวกับมะเร็งปากมดลูกนั่นเองและยัง สามารถทำให้เกิดหูดในอวัยวะเพศได้ โดยเชื้อเอชพีวีอาจทำให้เซลล์ในช่องทวาร มีสภาพผิดปกติ หรือที่เรียกว่า “Anal squamous intraepithelial lesions” (ASIL)

เซลล์ผิดปกติดังกล่าวที่เกี่ยวพันกับ ASIL นั้น ไม่ใช่เซลล์มะเร็ง แต่สามารถพัฒนา กลายเป็นเซลล์มะเร็งได้ นอกจากเชื้อเอชพีวีแล้ว ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเป็นมะเร็งทวารหนัก ได้แก่ อายุมาก (โดยส่วนใหญ่ แล้ว มะเร็งทวารหนักมักเกิดกับคนอายุ 50 ปีขึ้นไป) มีคู่นอนหลายคน มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก และสูบบุหรี่

นอกจากนี้ มะเร็งทวารหนักยังเกิดจากการใช้ยา Corticosteroids หรือเป็นโรคที่ต่อต้านระบบภูมิคุ้มกัน ในระยะยาวยังรวมไปถึง การปลูกถ่ายอวัยวะ(Organ transplantation)

ภาวะแทรกซ้อนของโรค (Complications) มะเร็งทางทวารหนักนั้น มีน้อยมากที่จะแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย (Metastasizes) กล่าวคือ มีเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ ก้อนเนื้อ (Tumor) จะแพร่กระจายตัว แต่กรณีที่แพร่ กระจายนั้น (มักพบโดยทั่วไปว่าแพร่กระจายไปยังตับและปอด) ก็มักเป็นกรณีที่รักษายากเป็นพิเศษ

การทดสอบวิธีต่างๆ เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งทวารหนักหรือไม่ ได้แก่

  • การตรวจช่องทวารและลำไส้ตรงเพื่อหาความผิดปกติ โดยใช้การตรวจที่เรียกว่า DRE (= Digital Rectal Exam) ซึ่งแพทย์จะสอดนิ้วที่สวมถุงมือและเคลือบสารหล่อลื่นเข้าไปในลำไส้ตรงของคนไข้ เพื่อตรวจดูว่ามีสิ่งผิดปกติ อย่าง เนื้องอก (Growth) หรือไม่
  • การตรวจช่องทวารและลำไส้ตรงผ่านกล้อง Anoscope ซึ่งมีลักษณะสั้นและเบา เพื่อเข้าไป ตรวจหาความผิด ปกติในช่องทวารและลำไส้ตรง
  • การถ่ายภาพคลื่นเสียง/อัลตราซาวด์ของช่องทวาร โดยแพทย์จะสอดหัวตรวจ ที่รูปร่างคล้ายกับปรอทวัดอุณหูมิหนาๆ อันหนึ่ง เข้าไปยังทวารหนักและลำไส้ตรงของคนไข้ หัวตรวจดังกล่าวจะปล่อยคลื่นเสียง ที่ระดับพลังงานสูง เรียกว่า “คลื่นอัตราซาวด์” (Ultrasound wave) ซึ่งสะท้อนไปมาระหว่างเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย เพื่อเก็บภาพ ซึ่งแพทย์จะนำมาประเมินเพื่อหาสิ่งผิดปกติ
  • การตัดตัวอย่างเนื้อเยื่อไปตรวจในห้องปฏิบัติการ หากแพทย์ ค้นพบบริเวณที่ดูผิดปกติ ก็อาจตัดเนื้อเยื่อบริเวณ ดังกล่าวไปบางส่วน (Biopsy) เพื่อส่งไปให้ห้องทดลองวิเคราะห์ โดยดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ เพื่อดูว่าเป็นเซลล์ มะเร็งหรือไม่ ที่เรียกว่า การตรวจทางพยาธิวิทยา)

แหล่งข้อมูล:

  1. [Anal cancer] Causes. http://www.mayoclinic.com/health/anal-cancer/DS00852/DSECTION=causes [2012, December 16]
  2. [Anal cancer] Complications. http://www.mayoclinic.com/health/anal-cancer/DS00852/DSECTION=complications [2012, December 16].