มะเร็งของหนูน้อย (ตอนที่ 6)

มะเร็งของหนูน้อย

มะเร็งกระดูก (Bone Cancers) ที่พบมากที่สุดในเด็กคือ ชนิด Osteosarcoma ที่มักจะเป็นรอบหัวเข่า และชนิดที่รองลงมาคือ ชนิด Ewing sarcoma ซึ่งมักจะเป็นที่กระดูกเชิงกราน ต้นขา (Thigh) แขนช่วงบน หรือกระดูกซี่โครง มักพบในระหว่างอายุ 10-20 ปี และมีร้อยละ 6 ของเด็กที่เป็นมะเร็ง อาการที่เกิด ได้แก่

  • ปวดกระดูก
  • บวมหรือกดเจ็บ (Tenderness) บริเวณกระดูกหรือข้อต่อ
  • กระดูกไม่แข็งแรง หักง่าย
  • อ่อนเพลีย
  • เป็นไข้
  • น้ำหนักลด
  • โลหิตจาง (Anemia)

ทั้งนี้ประมาณร้อยละ 25 มะเร็งกระดูกจะกระจายไปที่ปอด และอัตราการมีชีวิตอยู่หลัง 5 ปีของมะเร็งชนิดนี้อยู่ที่ร้อยละ 70

สำหรับวิธีการรักษาโรคมะเร็งในเด็กนั้น ขึ้นกับชนิดและระยะที่เป็น ซึ่งมีทั้งการผ่าตัด การใช้รังสีบำบัด (Radiation therapy) การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy) แต่ส่วนใหญ่จะใช้หลายวิธีร่วมกัน

การใช้เคมีบำบัดในเด็กมักได้รับการตอบสนองได้ดีกว่าผู้ใหญ่ เพราะเคมีบำบัดสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตที่รวดเร็วของเซลล์มะเร็งได้ ในขณะที่การใช้รังสีบำบัดในเด็กจะทำให้เกิดผลกระทบที่รุนแรง (Serious side effects) มากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

การรักษาโรคมะเร็งในเด็กส่วนใหญ่จะมีผลข้างเคียงต่อเด็ก ซึ่งอาจจะเกิดระหว่างการรักษา หรือหลังการรักษาแล้วหายไป หรืออาจมีผลข้างเคียงระยะยาวหลังการรักษาผ่านไปเป็นปีแล้ว (Late effects) โดยอาจจะเกิดที่อวัยวะหรือระบบใดระบบเดียว หรือหลายระบบก็ได้ และอาจมีตั้งแต่ระดับอ่อนไปจนถึงระดับรุนแรง เด็กแต่ละคนจะได้รับการรักษามะเร็งที่แตกต่างกันไป ผลข้างเคียงระยะยาวก็จะแตกต่างกันไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นกับ

  • ขนิดของมะเร็ง
  • ตำแหน่งที่เป็นมะเร็ง
  • อายุของเด็กขณะทำการรักษา
  • สุขภาพของเด็กก่อนการเป็นมะเร็ง
  • พันธุกรรมของเด็ก

ผลข้างเคียงระยะยาวเกิดจากการรักษามะเร็งที่ทำลายเซลล์ในร่างกายทั้งเซลล์มะเร็งและเซลล์ที่ดี ทำให้เซลล์หยุดการเจริญเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น

ผลข้างเคียงระยะยาวที่เกิดจากการรักษามะเร็งในเด็กที่เป็นไปได้ อาจมีผลต่อ สมอง การมองเห็น การได้ยิน ต่อมไทรอยด์ กล้ามเนื้อและกระดูก ระบบหัวใจและหลอดเลือด ปอด ฟัน การเจริญเติบโต ภาวะเจริญพันธุ์ โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

แหล่งข้อมูล

  1. Cancer in Children. http://www.cancer.org/cancer/cancerinchildren/ [2015, May 18].
  2. Signs of Childhood Cancer. http://www.ped-onc.org/diseases/SOCC.html [2015, May 18].