“ภูมิแพ้” ทำพิษ ติดอันดับโรคต้นทุนสูง (ตอนที่ 2)

เมื่อไม่นานามานี้ มีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการสำหรับสื่อมวลชนเรื่อง "กันไว้ดีกว่าแก้ ภาระโรคภูมิแพ้ขจัดได้" โดยมีการเปิดเผยผลวิจัยภาระค่าใช้จ่ายเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมทั้งเสนอแนวทางการป้องกันโรคภูมิแพ้ เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้

รศ. พ.ญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เจ้าของผลงานวิจัยเรื่อง "ต้นทุนการรักษาโดยตรงของโรคภูมิแพ้ในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี" ซึ่งระบุว่า โรคภูมิแพ้ถือว่าเป็นโรคฮิตติดอันดับสูงสุดสุดในเด็ก และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมากต่อปี

สาเหตุที่เกิดในเด็กมาก เพราะ “สารก่อภูมิแพ้” (Allergen) มีมากมายหลายชนิด อาทิ ฝุ่น หรือละอองเกสรดอกไม้ (Pollen) ซึ่งเป็นอนุภาคที่ลอยอยู่กลางอากาศ (Airborne particle) ในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศ เด็กจะมีโอกาสเกิดอาการแพ้ตามร่างกาย อาทิ ตาแดง ระคายเคืองจมูก และคันตามผิวหนัง จนเกิดภูมิแพ้ที่เรียกว่า “Allergic rhinitis”

การสูดเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าร่างกาย สามารถนำไปสู่อาการของโรคหืด (Asthma) ได้ อันมีสาเหตุจากหลอดลมตีบ (Bronchoconstriction) และการผลิตน้ำเมือก (Mucus) ที่เพิ่มขึ้นในปอด การหายใจติดขัด (Dyspnea) การไอ (Coughing) และการหายใจหอบชนิดมีเสียงวี๊ด (Wheeze)

นอกจากนี้ ภูมิแพ้ยังเป็นผลจากอาหาร แมลงสัตว์กัดต่อย และปฏิกิริยาจากการกินยาแก้ปวด (Aspirin) และยาอักเสบ (Antibiotics) อาทิ เพนนิซิลิน (Penicillin) ในกรณีแพ้อาหาร จะก่อให้เกิดอาการปวดท้อง (Abdominal pain) ท้องอืด อาเจียน อุจจาระร่วง ผิวหนังคันและบวม ระหว่างที่เป็นลมพิษ (Hives)

วัสดุบางอย่างก็เป็นสารก่อภูมิแพ้แก่ผิวหนังได้ อาทิ น้ำยาง (Latex) ซึ่งเป็นสาเหตุของการอักเสบจากการสัมผัส (Contact dermatitis) หรือผื่นแดง (Eczema) และเป็นสาเหตุที่นำไปสู่อาการผื่นคัน บวม และอักเสบภายในใต้ผิวหนัง ที่รู้จักกันในชื่ออาการ “ตุ่มนูนแผ่กระจาย” (Wheal and flare) ของลมพิษ และหลอดเลือดและหลอดน้ำเหลืองบวม (Angio-edema)

ในกรณีรุนแรงที่เรียกว่า “Anaphylaxis” นั้น ภูมิแพ้จะมีผลกระทบต่อระบบการทำงานในร่างกาย ตั้งแต่ระบบย่อยอาหาร (Digestive) ระบบหายใจ (Respiratory) และระบบไหลเวียนของโลหิต (Circulatory) อาจเป็นสาเหตุของการแพ้ผิวหนัง (Cutaneous) หลอดลมตีบ อาการบวมน้ำ (Edema) ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension) อาการหมดสติ (Coma) และแม้กระทั่งถึงแก่ความตาย

ปฏิกิริยาเหล่านี้อาจเกิดขึ้นทันทีทันใด หรืออาจเริ่มต้นอย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ จางหายไป แต่ก็อาจเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นเวลายาวนาน ปัจจัยเสี่ยงอาจแบ่งได้เป็น 2 ปัจจัย กล่าวคือ จากตัวผู้เกิดอาการภูมิแพ้เอง (Host) และจากสิ่งแวดล้อม (Environment) ปัจจัยแรกจากตัวผู้เกิดอาการภูมิแพ้เอง ได้แก่ กรรมพันธุ์ (ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด) เพศ เชื้อชาติ และอายุ อย่างไรก็ตาม อุบัติการณ์เร็วๆ นี้ ทวีจำนวนรายของผู้มีภูมิแพ้ผิดปรกติ (Allergic disorder) ซึ่งไม่สามารอธิบายได้ด้วยปัจจัยทางพันธุกรรม (Genetic) เพียงอย่างเดียว

ส่วนปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดโอกาสการติดเชื้อ (Infection) ในช่วง

  1. วิวัฒนาการตั้งแต่เด็กเล็ก
  2. ภาวะมลพิษ (Environmental pollution)
  3. ระดับสารก่อภูมิแพ้ (Allergen) และ
  4. การเปลี่ยนแปลงทางอาหารการกิน

แหล่งข้อมูล:

  1. "ภูมิแพ้" ติดอันดับโรคต้นทุนสูง สูญเงินรักษาปีละ 2.7 หมื่นล้าน http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333959444 [2012, April 21].
  2. Allergy. http://en.wikipedia.org/wiki/Allergy [2012, April 21].