ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ตอนที่ 2

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

น้ำตาลในเลือดที่สูงขึ้นเป็นปัจจัยเสี่ยงโดยตรง ที่กระตุ้นกระบวนการของหลอดเลือดแดงแข็ง ความผิดปกติในกระบวนการเมตะบอลิสม ก่อให้เกิดการสร้างสารเคมีหรือกระบวนการบางอย่างที่ไปมีส่วนทำลายหลอดเลือดแดง เช่น การทำหน้าที่ของเยื่อบุเซลล์ชั้นในของผนังหลอดเลือดแดง (endothelial cell) ผิดปกติ ทำให้สูญเสียกลไกการป้องกันหลอดเลือด และไปกระตุ้นกระบวนการทำลายหลอดเลือด แทนการเพิ่มอนุมูลอิสระ การเปลี่ยนแปลงในกลไกการแข็งตัวของเลือดให้มีการเกาะจับตัวของเลือดได้ง่ายขึ้น การกระตุ้นกลไกการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดง

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) เป็นกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดกันมาในครอบครัว ขณะที่มีอายุน้อยๆจะยังไม่แสดงอาการ นอกจากจะมีปัจจัยมากระตุ้นให้อาการแสดงออกเร็วขึ้น ปัจจัยนั้นคือ ความอ้วนหรืออ้วนลงพุง เพราะการที่มีไขมันสะสมอยู่ที่พุงมากจะยิ่งทำให้ระดับความดื้อต่ออินซูลินเพิ่มสูงขึ้น

ในขณะเดียวกันอาหารที่มีค่า glycemic index สูงทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างรวดเร็ว หลังการรับประทานอาหาร 15 - 30 นาที (early postprandial stage) ซึ่งทำให้ตับอ่อนต้องหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้นในกระแสเลือด การมีอินซูลินปริมาณมากในกระแสเลือด เป็นจุดเริ่มต้นของความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย

อ้างอิง

สิริพร ฉัตรทิพากร. ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้สมองเสื่อม.http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558 ].

ฉัตรภา หัตถโกศล. ประเภทของน้ำตาล คุณสมบัติและผลต่อร่างกาย . การประชุมวิชาการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 9 เรื่อง โภชนาการดีถ้วนหน้า ตามรอยพระบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการ ; วันที่ 21-23 ตุลาคม 2558 ; ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ชั้น 5. กรุงเทพฯ.

พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม.การประชุมวิชาการโภชนวิทยามหิดล เรื่อง โภชนาการทางเลือกเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย; วันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2557 ; ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.