ภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) ตอนที่ 1

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน

ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้อินซูลินทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ส่งผลให้เบต้าเซลล์ในตับอ่อนต้องหลั่งอินซูลินออกมาในปริมาณเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ เป็นการสร้างภาระให้กับเบต้าเซลล์ เมื่อต้องทำงานหนักเกินกำลัง เบต้าเซลล์จะค่อยๆตายลงไปเรื่อยๆ กำลังผลิตอินซูลินของตับอ่อนก็จะลดลง ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เมื่อเบต้าเซลล์ลดจำนวนลงเหลือครึ่งหนึ่งของจำนวนที่มีอยู่เดิม ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้นถึงระดับที่เราเรียกว่าเป็นเบาหวาน อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ เบาหวานเป็นความผิดปกติที่มีการดำเนินของโรคอย่างต่อเนื่อง หน้าที่ของตับอ่อนจะลดลงไปเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่เป็นนานขึ้น นั่นหมายความว่า ถ้าไม่ได้รักษา โรคจะเป็นมากขึ้น น้ำตาลในเลือดจะเพิ่มขึ้นตามระดับของอินซูลินที่ลดลง ในขณะที่ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังคงสูงเหมือนเดิม

ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ยังมีความสัมพันธ์กับความอ้วน มีเพียงประมาณ 20% ของผู้ที่อ้วนเท่านั้นที่ไม่มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ในขณะที่ผู้ที่ผอมหรือมีน้ำหนักปกติ มีภาวะดื้อต่ออินซูลินได้ประมาณ 20%เช่นกันนอกจากอ้วนแล้ว ภาวะดื้อต่ออินซูลินยังเกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง ไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์สูง และไขมันเอชดีแอล(HDL-C) ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่ำลง

อ้างอิง

สิริพร ฉัตรทิพากร. ภาวะดื้อต่ออินซูลินทำให้สมองเสื่อม.http://www.trf.or.th/index.php?option=com_content [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2558 ].

ฉัตรภา หัตถโกศล. ประเภทของน้ำตาล คุณสมบัติและผลต่อร่างกาย . การประชุมวิชาการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 9 เรื่อง โภชนาการดีถ้วนหน้า ตามรอยพระบาทเจ้าฟ้านักโภชนาการ ; วันที่ 21-23 ตุลาคม 2558 ; ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ชั้น 5. กรุงเทพฯ.

พันธ์ศักดิ์ ศุกระฤกษ์. แนวทางการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม.การประชุมวิชาการโภชนวิทยามหิดล เรื่อง โภชนาการทางเลือกเพื่อสุขภาพและการชะลอวัย; วันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2557 ; ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น.