ภัยแฝงจากสารพิษโลหะหนัก (ตอนที่ 2)

ภัยแฝงจากสารพิษโลหะหนัก

ผลของสารพิษโลหะสามารถทำให้เกิดพิษได้ 2 ลักษณะ คือ

  1. ทำลายเซลล์เนื้อเยื่อโดยตรงและรบกวนการทำงานของขั้นตอนการเผาผลาญอาหาร (Metabolic processes)
  2. ทำลายสารอาหารอันเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะสารอาหารบกพร่องของร่างกาย (Nutritional Deficiencies)

ตัวอย่างของโรคที่เกิดจากสารพิษโลหะหนัก ได้แก่ พัฒนาการที่ผิดปกติของระบบประสาท เช่น โรคอัลไซด์เมอร์ โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis = MS) โรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) โรคความผิดปกติของไตและเลือด

สารพิษโลหะที่มีผลกับเราโดยที่เราอาจคิดไม่ถึง เช่น

  • สารปรอท ส่วนใหญ่สารปรอทที่ทำให้เกิดพิษจะอยู่ในรูปของ Methylmercury ซึ่งสามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย แต่ร่างกายขับออกได้ยาก สารปรอทจะมีผลต่อระบบประสาท ทำลายเซลล์สมอง ตัวอย่างพิษของสารปรอท ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue) โรคหดหู่ซึมเศร้า และความจำไม่ดี

สารปรอทมีผลต่อระบบภูมิต้านทาน และทำให้เกิดภาวะที่ภูมิต้านทานของตัวเองกระตุ้นเซลล์ตัวเองให้หลั่งสารก่อพิษขึ้นมา (Autoantibodies) นอกจากนี้ยังมีผลต่อโรคอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome) เป็นสาเหตุให้การทำงานของอินซูลินไม่มีประสิทธิภาพและมีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สมดุล ซึ่งในที่สุดจะทำให้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes mellitus type 2)

ทั้งนี้ เด็กจะมีความเสี่ยงต่อพิษของสารปรอทมากกว่าผู้ใหญ่ 5-10 เท่า โดยเราสามารถได้รับพิษจากสารปรอทผ่านทาง

  • การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม (Dental Amalgam Fillings)
  • อาหาร - โดยเฉพาะอาหารทะเลที่มีสารปนเปื้อนของ Methylmercury อันเกิดจากห่วงโซ่อาหาร เช่น ปลาฉลาม ปลาดาบ ปลาทูน่า และปลาแมคเคอรอล นอกจากนี้อาจพบในพืชผล เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์นม
  • น้ำ - ปรอทสามารถเข้าสู่แหล่งน้ำผ่านทางฝน หิมะ หิน และดิน
  • มลพิษทางอากาศ (Air pollution) - ที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ถ่านหิน สถานีแก๊ส (Gas-fired power station)
  • วัคซีน – ที่มีการใช้ปรอทเป็นสารกันเสียในการผลิตวัคซีน (Thimerosal) ซึ่งทำให้เชื่อว่า เป็นสาเหตุให้เด็กเป็นโรคออทิซึม (Autism) ได้

แหล่งข้อมูล

  1. Toxic heavy metal.https://en.wikipedia.org/wiki/Toxic_heavy_metal[2015, October 1].
  2. Heavy Metal Toxicity. http://www.ei-resource.org/illness-information/related-conditions/heavy-metal-toxicity/[2015, October 1].
  3. Heavy Metal Poisoning.https://rarediseases.org/rare-diseases/heavy-metal-poisoning/[2015, October 1].