ฟลูนาริซีน (Flunarizine)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาฟลูนาริซีน (Flunarizine) หรือยาชื่อการค้าที่เป็นที่รู้จัก คือ ไซบีเลียม (Sibelium) จัดอยู่ในกลุ่มยา Calcium channel blocker (ยาที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของแคลเซี่ยมเพื่อช่วยให้มีการขยายตัวของหลอดเลือด) และ มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของสารฮีสตามีน/Histamine (Histamine H1 receptor blocking activity) ถูกคิดค้นโดยบริษัทยา แจนเซ่น ฟาร์มาซูติคัล (Jans sen Pharmaceuticals) ในปี ค.ศ. 1968 (พ.ศ. 2511) วงการแพทย์นำยานี้มารักษาและป้องกัน อาการปวดศีรษะไมเกรน, ใช้ประกอบในการรักษาโรคลมชัก, และอาการวิงเวียนศีรษะ

หลังการรับประทาน ยาฟลูนาริซีนจะถูกดูดซึมจากระบบทางเดินอาหารและจับกับโปรตีนในกระแสเลือดมากกว่า 90% และร่างกายต้องใช้เวลาประมาณ 18 วันในการขับยานี้ออกจากร่าง กาย 50% โดยผ่านมากับน้ำดี

ประเทศไทยจัดฟลูนาริซีนอยู่ในกลุ่มยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ และอยู่ในหมวดยาอัน ตราย การใช้ยานี้อย่างถูกต้องและปลอดภัยจึงควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์

ยาฟลูนาริซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

ฟลูนาริซีน

ยาฟลูนาริซีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ เช่น

  • ใช้บำบัดรักษาและป้องกันการปวดศีรษะไมเกรน แต่ไม่สามารถรักษาอาการไมเกรนแบบเฉียบพลันได้
  • บำบัดอาการเวียนศีรษะคล้ายบ้านหมุน (อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง เวียนศีรษะ อาการรู้สึกหมุน)

ยาฟลูนาริซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาฟลูนาริซีนมีกลไกการออกฤทธิ์โดยทำให้หลอดเลือดส่วนปลายขยายตัว และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะสมอง จึงเกิดฤทธิ์ของการรักษาตามสรรพคุณ

ยาฟลูนาริซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาฟลูนาริซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย เช่น

  • รูปแบบยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม/เม็ด
  • รูปแบบยาแคปซูล ขนาด 5 มิลลิกรัม/แคปซูล

ยาฟลูนาริซีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?

ยาฟลูนาริซีนมีขนาดรับประทาน เช่น

  • ผู้ใหญ่: รับประทานครั้งละ 5 - 10 มิลลิกรัม วันละครั้ง ก่อนนอน
  • คนชราที่มีอายุมากกว่า 65 ปี: รับประทานครั้งละ 5 มิลลิกรัม วันละครั้งก่อนนอน
  • เด็ก (นิยามคำว่าเด็ก): การใช้ยานี้ในเด็กที่ป่วยด้วยไมเกรน ต้องอยู่ในคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาฟลูนาริซีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกร ดัง นี้ เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หายใจหอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยา หรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาฟลูนาริซีน อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆ หรือกับอาหารเสริม ที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาฟลูนาริซีน สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาฟลูนาริซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาฟลูนาริซีนอาจก่อให้เกิด ผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/ อาการข้างเคียง) เช่น

  • มีน้ำหนักตัวเพิ่ม
  • ง่วงนอน
  • คลื่นไส้
  • ปากคอแห้ง
  • นอนไม่หลับ
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หากพบว่ามีอาการวิตกกังวล ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อขอปรับขนาดการรับประทาน (เพราะอาจทำให้เกิดอาการวิตกกังวลมากขึ้น)
  • *นอกจากนี้ ถ้ามีอาการผื่นคัน มีภาวะซึมเศร้าเกิดขึ้น รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายทำได้ลำบาก ไม่สามารถควบคุมการขยับปากและใบหน้าได้ ต้องรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที

มีข้อควรระวังการใช้ยาฟลูนาริซีนอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาฟลูนาริซีน เช่น

  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่แพ้ยา ฟลูนาริซีน
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยด้วย โรคความดันโลหิตต่ำ ภาวะหัวใจล้มเหลว และผู้ที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • ระวังการใช้ยานี้ใน หญิงตั้งครรภ์ และหญิงให้นมบุตร
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยโรคตับ ผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคซึมเศร้า
  • ระหว่างรับประทานยานี้ ให้หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ เพราะจะส่งผลให้ผลข้างเคียงจากยานี้สูงขึ้น
  • ระหว่างการใช้ยาฟลูนาริซีน ควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักร หรือการขับรถ เนื่องจากอาจเกิดอันตรายจากมีอาการง่วงนอนมาก
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาฟลูนาริซีนด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาฟลูนาริซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาฟลูนาริซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • การใช้ยาฟลูนาริซีนร่วมกับยากันชัก เช่นยา Carbamazepine, Phenytoin, และ Valproic acid สามารถทำให้ระดับยาฟลูนาริซีนในกระแสเลือดลดต่ำ อาจส่งผลต่อการรักษาของยาฟลูนาริซีน จึงควรต้องแจ้งแพทย์เพื่อแพทย์พิจารณาปรับขนาดการรับประทาน
  • การรับประทานยาฟลูนาริซีนร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ จะก่อให้เกิดอา การง่วงนอนมากยิ่งขึ้นจนถึงขั้นหมดสติได้
  • การรับประทานยาฟลูนาริซีนร่วมกับ กลุ่มยานอนหลับ กลุ่มยาคลายวิตกกังวล/ยาคลายเครียด ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เสพติดกลุ่มโอปิออยด์ (Opioid analgesics) จะเพิ่มฤทธิ์ของการสงบประสาท ซึ่งทำให้ผู้ป่วยรู้สึกง่วงนอน วิงเวียนมากขึ้น หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน หรือให้แพทย์เป็นผู้ปรับขนาดการรับประทาน

ควรเก็บรักษายาฟลูนาริซีนอย่างไร?

ควรเก็บยาฟลูนาริซีน เช่น

  • เก็บยาที่อุณหภูมิระหว่าง 15 - 30 องศาเซลเซียส (Celsius)
  • เก็บยาให้พ้น แสง/แสงแดด และความชื้น
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาฟลูนาริซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาฟลูนาริซีน มียาชื่อการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Cebrium (เซเบรียม) Community Pharm PCL
Cedelate (เซเดเลท) Thai Nakorn Patana
Fabelium (ฟาเบเลี่ยม) Pharmahof
Finelium (ฟิเนเลี่ยม) P P Lab
Floxin (โฟลซิน) Sriprasit Pharma
Flubelin (ฟลูเบลิน) Patar Lab
Flucilium (ฟลูซิเลี่ยม) Utopian
Fludan (ฟลูดาน) Biolab
Flunamed (ฟลูเนม) Medicpharma
Flunaric (ฟลูนาริก) Suphong Bhaesaj
Flunarium (ฟลูนาเรียม) Greater Pharma
Flunarizine BLC (ฟลูนาริซีน บีแอลซี) Bangkok Lab & Cosmetic
Flunarizine GPO (ฟลูนาริซีน จีพีโอ) GPO
Fluricin (ฟลูริซิน) Seng Thai
Flurin (ฟลูริน) T. Man Pharma
Furin (ฟูริน) T. Man Pharma
Hexilium (เฮซิเลี่ยม) Pharmasant Lab
Liberal (ลิเบอรัล) Asian Pharm
Poli-Flunarin (โพลิ-ฟลูนาริน) Polipharm
Sibelium (ไซบีเลี่ยม) Janssen-Cilag
Simoyiam (ไซโมเยี่ยม) Siam Bheasach
Sobelin (โซเบลิน) T.O. Chemicals
Sovelium (โซเวเลี่ยม) Medicine Products
Vanid (แวนิด) Unison
Vertilium (เวอร์ทิเลี่ยม) MacroPhar
Zelium (เซเลี่ยม) Masa Lab

บรรณานุกรม

1. http://en.wikipedia.org/wiki/Flunarizine[2020,Aug22]

2. http://www.mims.com/Captcha/DefaultCaptcha?returnUrl=http%3a%2f%2fwww.mims.com%2fusa%2fdrug%2finfo%2fflunarizine%2f%3ftype%3dfull%26mtype%3dgeneric#Dosage[2020,Aug22]

3. MIMS Pharmacy Guide THAILAND 6TH Edition 2006 page A 228

4. http://www.mims.com/Thailand/drug/search/?q=flunarizine[2020,Aug22]

5. http://circres.ahajournals.org/content/61/3/446.full.pdf[2020,Aug22]