พิษของฉี่ (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

พิษของฉี่-2

ไซยาโนเจน คลอไรด์ สามารถแพร่ไปได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ปล่อยเป็นละอองของเหลว (Liquid spray / aerosol) หรือแก๊ส (Gas) ทั้งภายในอาคาร (Indoor Air) และภายนอกอาคาร (Outdoor Air)
  • ผสมลงในน้ำ
  • ผสมลงในอาหาร
  • ปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์การเกษตรจากการปล่อยเป็นละอองของเหลวหรือแก๊ส

ทั้งนี้ ไซยาโนเจน คลอไรด์ จะสามารถเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยการสูดดม (Inhalation) การกิน (Ingestion) การสัมผัสกับผิว (Skin contact) และการสัมผัสกับตา (Eye contact)

โดยอาการที่เกิดจากการได้รับไซยาโนเจน คลอไรด์ในระดับต่ำ (Low doses) ได้แก่

  • มีเสมหะมาก (Bronchorrhea)
  • ระคายเคืองน้ำตาไหลมาก (Lacrimation)
  • น้ำมูกไหล (Rhinorrhea)

อาการที่เกิดจากการได้รับไซยาโนเจน คลอไรด์ในระดับปานกลาง (Moderate doses) ได้แก่

  • ภาวะหายใจเร็วชั่วคราว (Transient hyperpnea)
  • รู้สึกวิตกกังวลหรือสับสน (Apprehension)
  • เวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo)
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ชัก (Seizures)
  • หายใจช้าลงและตื้น (Bradypnea) ตามด้วยหยุดหายใจชั่วคราว (Apnea)
  • หัวใจหยุดเต้น (Cardiac arrest)

อาการที่เกิดจากการได้รับไซยาโนเจน คลอไรด์ในระดับสูง (High doses) ได้แก่

  • หายใจเร็วชั่วคราว (Transient hyperpnea)
  • ตามด้วยชัก 15-30 วินาที
  • ตามด้วยหยุดหายใจชั่วคราว 2-3 นาที
  • หัวใจหยุดเต้น 6-8 นาที

สำหรับการช่วยเหลือแก่ผู้ป่วยที่ได้รับสารไซยาโนเจน คลอไรด์ อาจทำได้โดยการ

  • เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากบริเวณที่มีสารพิษ โดยผู้ช่วยเหลือต้องมีการป้องกันระบบทางเดินหายใจของตนเองระดับสูง (The highest level of respiratory protection - level A)
  • ล้างตาด้วยน้ำเปล่า ถอดเสื้อผ้าที่ถูกสารพิษ และล้างตัวผู้ป่วยด้วยน้ำและสบู่
  • ให้ออกซิเจน สารทางหลอดเลือด และเฝ้าระวังเกี่ยวกับหัวใจ (Cardiac monitoring)
  • จัดการถอนพิษให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น รักษาระบบไหลเวียนของหิต (Hemodynamic support) การหล่อเลี้ยงด้วยอ็อกซิเจน (Oxygenation) เป็นต้น

แหล่งข้อมูล:

  1. Cyanogen Chloride Poisoning. http://misc.medscape.com/pi/iphone/medscapeapp/html/A832939-business.html [2017, August 25].
  2. CYANOGEN CHLORIDE (CK) : Systemic Agent. https://www.cdc.gov/niosh/ershdb/emergencyresponsecard_29750039.html [2017, August 25].