พิการแต่กำเนิด เกิดแล้วต้องดูแล (ตอนที่ 4 และตอนสุดท้าย)

อนุสนธิจากข่าวเมื่อวันก่อน ศ. พญ. พรสวรรค์ วสันต์ นายกสมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่มีการดำเนินนโยบายที่จะป้องกันความพิการแต่กำเนิดอย่างเป็นรูปธรรม จากข้อมูลทั่วโลก พบทารกและเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิดกว่า 8 ล้านคน ซึ่งสภาวะนี้ส่งผลกระทบตั้งแต่ระดับครอบครัว ภาระของครอบครัวที่ต้องแบกรับ รวมถึงผลกระทบต่อจิตใจของบิดามารดาที่มีทารกพิการแต่กำเนิดซึ่งมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ครึ่งหนึ่ง และ [อีกครึ่งหนึ่ง] จากสิ่งแวดล้อม อาทิ ทุพโภชนาการ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และยาบางชนิด

ศ. พญ. พรสวรรค์ กล่าวว่า “หากประเทศไทยมีการวางแผนครอบครัวที่ดีจะช่วยลดความพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้น เป้าหมายสำคัญคือการแนะนำคู่สามีภรรยาที่จะสร้างครอบครัวที่มีสุขภาพดี โดยการป้องกันความพิการแต่กำเนิด ซึ่งจะได้ผลดีหากเริ่มที่ระดับชุมชนและบุคลากรสาธารณสุข ซึ่งต้องได้รับการอบรมและมีการดำเนินงาน และมีนโยบายที่ชัดเจน ก็จะสามารถป้องกันความพิการแต่กำเนิดที่รุนแรงหลายโรคได้ตั้งแต่แรกเกิด . . .

. . . การให้คำปรึกษาทางด้านครอบครัวที่วางแผนที่จะมีบุตรโดยเฉพาะหญิงวัยเจริญพันธุ์ ให้ได้รับประทานอาหารที่มีโฟเลต (Folate, Folic acid) หรือวิตามิน บี 9 ตั้งแต่ก่อนการตั้งครรภ์และโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 2 – 3 เดือนแรกหลังปฏิสนธิ จะช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด รวมถึงการมีภาวะโภชนาการที่ดี รับประทานอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบ ไม่ดื่มเหล้า/เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ไม่สูบบุหรี่ เมื่อต้องการจะมีบุตร”

การช็อคทางกายภาพภายนอก (External physical shock) หรือความรูสึกอึดอัดเนื่องจากการเติบโต [ของครรภ์] ในที่พื้นจำกัด อาจยังผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างที่มิได้ตั้งใจ หรือแยกโครงสร้างของเซลล์ออก อาจก่อให้เกิดรูปร่างในขั้นสุดท้ายที่ผิดปรกติ หรือโครงสร้างที่เสียหายจนไม่สามารถทำงานได้ตามความคาดหวัง

ในการวิวัฒนาสิ่งมีชีวิตที่มีหลายเซลล์ในครรภ์ จะมีการแทรกแซงทางกายภาพ หรือการมีสิ่งมีชีวิตอื่นที่วิวัฒนาคล้ายคลึงกัน อาทิ ลูกแฝด ซึ่งอาจลงเอยด้วยเซลล์สองตัว รวมกันเป็นเซลล์เดียวที่ใหญ่กว่า พร้อมด้วยเซลล์ต่างๆ ที่รวมตัวกัน โดยพยายามที่จะดำเนินต่อไปในการพัฒนาสิ่งที่จะสนองความต้องการรูปแบบการเจริญเติบโต (Patterns) ของเซลล์ทั้งสอง

เซลล์ทั้งสองอาจแข่งขันซึ่งกันและกัน และเลียนแบบหรือรวมโครงสร้างทั้งสองเข้าด้วยกัน ยังผลให้เกิดสภาวะ ฝาแฝดที่มีอวัยวะเชื่อมกัน (Conjoined twins) แต่สิ่งมีชีวิตที่ต้องรวมตัวกัน (Merged organism) อาจตายตั้งแต่เกิด เมื่อต้องออกจากสิ่งแวดล้อมที่คอยคุ้มกันของครรภ์มารดา และต้องพยายามให้อยู่รอดในกระบวนการยังชีพอย่างอิสระ

มีการค้นพบหลักฐานของรูปร่างที่เปลี่ยนแปลงไปตั้งแต่เกิด จากซากพืชและสัตว์ที่กลายเป็นหิน (Fossil) ที่ได้รับการบันทึกไว้จากการศึกษาของนักชีววิทยาสาขาพืชและสัตว์โบราณ (Paleopathologists) ซึ่งเชี่ยวชาญในเรื่องโรคและการบาดเจ็บสมัยโบราณ ฟอสซิลดังกล่าว เป็นหลักฐานที่มีนัยสำคัญทางวิทยาศาสตร์ เพราะสามารถช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการสรุปความคิดเห็นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของวิวัฒนาการกระบวนการพัฒนาสิ่งมีชีวิต

นอกจากนี้ยังได้มีการค้นพบตัวอย่างเลือดของไทแรนโนสอรัส เร็กซ์ (Tyrannosaurus rex) พร้อมข้อกระดูกสันหลัง ซึ่งหมายความว่า กระดูกสันหลังได้วิวัฒนาในลักษณะพื้นฐานเดียวกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษทั้งของไดโนเสาร์ และของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การเปลี่ยนแปลงรูปร่างผิดปกติอื่นๆ ของฟอสซิล ได้แก่ การฟักตัวจากตัวอย่างเลือดของทรูดอน (Troodon) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ที่มีลักษณะเหมือนนก โดยที่มีปลายกระดูกขากรรไกรโค้งงอผิดปกติ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล:

  1. ทารกพิการแต่กำเนิด 4 หมื่นราย/ปี เหตุคนไทยไม่วางแผนมีบุตร http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000015577 [2012, February 9].
  2. Congenital disorder. http://en.wikipedia.org/wiki/Congenital_disorder [2012, February 9].