พาราเซตามอล ยาเดียวในดวงใจ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

พาราเซตามอลยาเดียวในดวงใจ

ยาพาราเซตามอลมักไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียงแต่อย่างใด พบผลข้างเคียงได้น้อย แต่กรณีที่มีผลข้างเคียงอาจได้แก่

  • การแพ้อย่างรุนแรง (Serious allergic reaction)
    • เป็นผื่นคันหรือบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น คอ
    • เวียนศีรษะอย่างรุนแรง (Severe dizziness)
    • หายใจลำบาก (Trouble breathing)
  • หน้าแดง (Flushing) ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นเร็ว (อาจเกิดในกรณีให้ยาทางหลอดเลือด)
  • เลือดผิดปกติ เช่น มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Thrombocytopenia) และ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ (Leukopenia)
  • ตับและไตถูกทำลาย กรณีที่ใช้ยาในปริมาณที่มากเกิน (Overdose) หรือมีการใช้ยาเป็นระยะเวลานาน

การทำปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug interactions) อาจทำให้ผลของยาเปลี่ยนไปหรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา โดยยาที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างยากับพาราเซตามอล เช่น

  • ยารักษาเชื้อรา เช่น ยา Ketoconazole
  • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่น ยา Warfarin
  • ยารักษาโรคลมชัก (Epilepsy) เช่น ยา Phenobarbital ยา Phenytoin ยา Primidone และยา Carbamazepine
  • ยาลดไขมัน เช่น ยา Colestyramine
  • ยารักษาโรคมะเร็ง เช่น ยา Imatinib และ ยา Busulfan
  • ยารักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 เช่น ยา Lixisenatide
  • ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เช่น ยา Metoclopramide

การเก็บรักษายา

  • เก็บให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น
  • อย่าเก็บยาไว้ในห้องน้ำ
  • เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • อย่าทิ้งยาลงในโถส้วม

อนึ่ง ยาพาราเซตามอลไม่ได้เป็นสาเหตุของอาการปวดท้องหรือทำให้เกิดแผลในกระเพาะ (Intestinal ulcers)เหมือนยาในกลุ่ม NSAIDs เช่น ยา Aspirin ยา Ibuprofen และยา Naproxen และยาพาราเซตามอลก็ไม่ได้ใช้ลดอาการบวมจากการอักเสบเหมือนยาในกลุ่ม NSAIDs ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยาพาราเซตามอลยังเป็นยาที่ไม่ทำให้ง่วงซึม (Drowsiness)

บรรณานุกรม

1. Paracetamol. http://www.nhs.uk/conditions/Painkillers-paracetamol/Pages/Introduction.aspx [2017, February 28].

2. Paracetamol. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-57595/paracetamol-oral/details [2017, February 28].