พาราซิมพาโทมิเมติก (Parasympathomimetic drugs) หรือ คอลิเนจิก (Cholinergic drugs)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

กลุ่มยาพาราซิมพาโทมิเมติก (Parasympathomimetic drugs หรือ Cholinomimetic drugs) อาจเรียกอีกชื่อ เช่น Parasympathomimetic alkaloid เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติที่มีชื่อว่า พาราซิมพาเทติก (Parasympathetic nervous system) ของร่าง กาย หรืออีกชื่อหนึ่งที่วงการแพทย์ใช้กันอย่างคุ้นเคยคือ “กลุ่มยาคอลิเนจิก (Cholinergic drugs)” ตัวยาต่างๆของยาในกลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ได้ก็ต่อเมื่อเกิดกลไกใดกลไกหนึ่งหรือทั้ง 2 กลไกดังต่อไปนี้

1. กลไกออกฤทธิ์โดยตรง (Direct acting): ตัวยาจะจับกับตัวรับ (Receptor) ที่ชื่อว่า นิโคตินิก หรือ มัสคารินิก (Nicotinic or muscarinic receptors) และตัวยาจะออกฤทธิ์กระตุ้นที่ตัวรับโดยตรง

2. กลไกออกฤทธิ์โดยอ้อม (Indirect acting): ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของสารเคมีที่มีชื่อว่า คอลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase, สารเคมีที่เป็นเอนไซม์เกี่ยวข้องกับการทำงานของสารสื่อประสาทชื่อ Acetylcholine) ในขณะเดียวกันจะสนับสนุนให้มีการหลั่งสารสื่อประสาทที่เรียกว่า อะเซ ทิลคอลีน (Acetylcholine, สารสื่อประสาทที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสมองและระบบประสาทอัตโนมัติ)

จากกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้น กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จึงมีข้อตกลงให้แบ่งหมวดหมู่ของสารออกฤทธิ์และหมวดยากลุ่มนี้ตามกลไกที่กล่าวมาข้างต้นคือ

1. กลุ่มสารเคมีหรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทพาราซิมพาโทมิเมติกโดยตรง เช่น

  • สารกลุ่มคอลีน เอสเทอร์ (Choline esters) เช่น Acetylcholine, Bethanechol, Carbachol และ Methacholine
  • สารแอลคาลอยด์จากพืช (Plant alkaloids) เช่น Arecoline, Nicotine, Muscarine และ Pilocarpine

2. กลุ่มสารเคมีหรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทพาราซิมพาโทเมติกโดยอ้อม เช่น

  • สารเคมีประเภท Reversible cholinesterase inhibitors เช่น Donepezil, Edrophonium, Neostigmine, Physostigmine, Pyridostigmine, Rivastigmine, Tacrine, Caffeine และ Huper zine A
  • สารเคมีประเภท Irreversible cholinesterase inhibitors เช่น Echothiophate, Isofluro phate และ Malathion
  • สารเคมีที่สนับสนุนการหลั่งอะเซทิลคอลีน (ACh release promoters) เช่น Cisapride, Droperidol, Domperidone, Metoclopramide, Risperidone, Paliperidone และ Trazodone
  • ยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านสารอะดรีเนอร์จิก (Anti-adrenergics/alpha blocker & beta blocker) เช่น Clonidine, Methyldopa, Propranolol, Atenolol, Prazosin และ Oxymetazoline

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นว่ายากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีหมวดยาและตัวยามากมายหลายตัว ซึ่งสรุปหมวดโรคที่สามารถใช้ยากลุ่มนี้รักษาได้ดังนี้

  • ภาวะความดันภายในลูกตาสูง
  • อาการปากแห้งเนื่องจากรับการฉายรังสีในบริเวณช่องปากและลำคอ
  • ภาวะหรืออาการปัสสาวะไม่ออก (Urinary retention)
  • โรคซึมเศร้า (Depressant)
  • โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ไม่มีแรงบีบตัว (Gastrointestinal atony)
  • หัวใจเต้นช้าผิดปกติ (Bradycardia)
  • โรคที่มีการติดเชื้อพยาธิต่างๆเช่น ตืดหมู
  • โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอมจี (Myasthenia gravis)
  • อาการเคลื่อนตัวน้อยของลำไส้ในผู้ป่วยหลังผ่าตัด
  • โรคความดันโลหิตต่ำ (Orthostatic hypotension)
  • โรคกรดไหลย้อน (GERD)
  • อาการคลื่นไส้จากการได้รับยาเคมีบำบัด จากไมเกรน จากการตั้งครรภ์
  • โรคทางจิตประสาทเช่น Schizophenia, Bipolar disorder
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจล้มเหลว
  • โรควิตกกังวล (Anxiety)
  • และอื่นๆ

จะเห็นได้ว่า ยาของกลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกเป็นกลุ่มยาหมวดที่ใหญ่มาก และถูกพัฒนาให้รองรับกับหลากหลายอาการโรค ทั้งขนาด วิธีใช้ยา เกณฑ์ของอายุผู้ป่วย หรือแม้แต่ความเหมาะสมของร่างกายในผู้ป่วยแต่ละคนที่มีความแตกต่างกันออกไป แพทย์เท่านั้นที่จะสามารถระบุการใช้ยากลุ่มนี้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัย

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

พาราซิมพาโทมิเมติก

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีสรรพคุณดังนี้ เช่น

  • ใช้รักษาโรคต้อหินเช่น ยา Pilocarpine, Physostigmine
  • รักษาอาการปัสสาวะขัดเช่น Bethanechol
  • รักษาอาการซึมเศร้าเช่น Arecoline
  • รักษาอาการวิตกกังวลเช่น ยากลุ่มเบตา - บล็อกเกอร์ (Beta blockers)
  • บำบัดรักษาอาการโรคจิตเภท (Shizophena) และอารมณ์สองขั้ว (Bipolar disorder) เช่น Risperidone
  • บรรเทาอาการคลื่นไส้ อาเจียนเช่น Methoclopramide
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูงเช่น แอลฟา - บล็อกเกอร์ (Alpha blockers)
  • รักษาอาการความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) เช่น Tacrine(ยานี้ ยกเลิกการใช้ในสหรัฐอเมริกาแล้ว), Donepezil
  • รักษาอาการกรดไหลย้อน (GERD) เช่น Cisapride
  • รักษาอาการหัวใจขาดเลือด (Angina Pectoris) หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Cardiac arrhythmia) ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) เช่น Propranolol
  • รักษาโรคพยาธิ (Antihelmintic) เช่น Arecoline
  • และอื่นๆ

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยากลุ่มนี้มีกลไกการออกฤทธิ์หลัก 2 กลไกคือ

1.ตัวยาจะเข้าจับกับตัวรับที่มีชื่อว่า Nicotinic receptors และ Muscarinic receptors จากนั้นจะกระตุ้นให้อวัยวะที่มีตัวรับดังกล่าวข้างต้น (หัวข้อ บทนำ) ตอบสนองตามชนิดของตัวยานั้นๆ

2. ตัวยาจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ คอลีนเอสเทอเรส และกระตุ้นหรือสนับสนุนให้อวัยวะที่มีการตอบสนองต่อยาที่ได้รับ เกิดการหลั่งสารอะเซทิลคอลีน

ทั้งนี้ จากทั้ง 2 กลไกดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดฤทธิ์ของการรักษา

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีรูปแบบการจัดจำหน่ายหลากหลายขึ้นกับแต่ละตัวยาเช่น ยารับประทานทั้งชนิดเม็ดและยาน้ำ, ยาฉีด, ยาใช้เฉพาะที่ (ยาใช้ภายนอกเช่น ยาหยอดตา) และพลาส เตอร์ปิดผิวหนัง

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีการบริหารยาอย่างไร?

ด้วยยาในกลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีหลากหลายรายการ ขนาดรับประทานหรือการบริหารยา/การใช้ยาจึงขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูล/ประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการและมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการใช้ยาจึงต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาในกลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติก ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หาย ใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติก อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยา/ใช้ยาในกลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกสามารถรับประทาน/ใช้ยาเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยา/ใช้ยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า อย่างไรก็ตาม หากลืมรับประทานยา/ใช้ยาบ่อยๆหลายๆครั้งอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อการรักษา

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกอาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น อาจมีอาการแน่นหน้าอก/หายใจลำบาก เป็นตะคริวที่ท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดเต้น ความดันโลหิตต่ำ ตาพร่า เหงื่อออกมาก กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย หลอดลมหดตัว/หายใจลำบาก กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต/กล้ามเนื้ออ่อนแรง

มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกอย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกดังนี้เช่น

  • ห้ามใช้ยาชนิดที่เคยแพ้ยา
  • ห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคระบบทางเดินหายใจเช่น โรคหืด
  • ห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารและ/หรือลำไส้ หรือมีภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบ
  • ห้ามใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโล หิตต่ำ
  • ระหว่างการใช้ยากลุ่มนี้ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยวดยานพาหนะหรือการทำงานเกี่ยวกับเครื่อง จักร
  • ระวังการใช้ยากลุ่มนี้กับหญิงตั้งครรภ์ หญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ การตัด สินใจใช้ยากลุ่มนี้กับผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น
  • หากพบอาการคล้ายการแพ้ยา (เช่น ขึ้นผื่นทั้งตัว หายใจลำบาก) ให้หยุดยาและรีบนำผู้ป่วยส่งแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นดังนี้เช่น

  • การใช้ยากลุ่มแอลฟา - บล็อกเกอร์ (Alpha blocker) ร่วมกับยากลุ่มเบตา - บล็อกเกอร์ (Beta blocker) จะเพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ควรเลี่ยงการใช้ร่วมกันหรือแพทย์ปรับขนาดรับประ ทานให้เหมาะสมเป็นรายบุคคลไป
  • การใช้ยาไฟโสสติกมีน (Physostigmine) ร่วมกับยาบางกลุ่มสามารถทำให้ประสิทธิภาพของยาไฟโสสติกมีนลดลงไป ยากลุ่มดังกล่าวเช่น Quinine, Chloroquine, Hydroxychloroquine, Quinidine, Procainamide, Lithium, Propafenone และยากลุ่ม Beta blockers หากมีความจำเป็น ต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดการใช้ให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
  • การใช้ยาซิซาไพรด์ (Cisapride) ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์สงบประสาท/ยาคลายเครียดเช่น ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์จะส่งผลให้เพิ่มฤทธิ์ของการสงบประสาทมากขึ้น จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
  • การใช้ยาดอมเพอริโดน (Domperidone) ร่วมกับยาต้านเชื้อราบางตัวสามารถทำให้ระดับ ของยาดอมเพอริโดนในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับผลข้างเคียงของยาดอมเพอริโดนมากยิ่งขึ้น ยาต้านเชื้อราดังกล่าวเช่น Itraconazole และ Ketoconazole เป็นต้น
  • การรับประทานยาโพรพราโนลอล (Propranolol) ร่วมกับยาขยายหลอดลมเช่น Amino phylline จะส่งผลให้ฤทธิ์ในการรักษาของโพรพาโนลอลด้อยลงไป อีกทั้งทำให้ฤทธิ์ของ Amino phylline เพิ่มมากขึ้น โดยพบอาการเช่น คลื่นไส้ อาเจียน นอนไม่หลับ ตัวสั่น ชีพจร/หัวใจเต้นผิดจังหวะ หายใจติดขัด/หายใจลำบาก เป็นต้น หากจำเป็นต้องใช้ยาร่วมกันแพทย์จะปรับขนาดและระยะเวลาในการรับประทานเป็นกรณีไป
  • การใช้ยาโคลนิดีน (Clonidine) ร่วมกับยารักษาโรคหัวใจเช่น Digitalis หรือยารักษาอาการทางจิตประสาทเช่น Lithium อาจทำให้เกิดพิษของยาเหล่านี้ต่อร่างกายได้เพิ่มมากขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรเลี่ยงการใช้ยาเหล่านี้ร่วมกัน

ควรเก็บรักษายากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกอย่างไร?

โดยทั่วไปให้เก็บยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็งของตู้เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อน และความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยากลุ่มพาราซิมพาโทมิเมติกที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Emetal (อีเมทัล)Asian Pharm
Hawkperan (ฮ็อกเพอแรน)L.B.S.
H-Peran (เฮท-เพอแรน)L.B.S.
K.B. Meta (เค.บี. เมต้า)K.B. Pharma
Manosil (แมโนซิล)March Pharma
Maril (แมริล)Atlantic Lab
Metoclopramide GPO (เมโทโคลพราไมด์ จีพีโอ)GPO
Metoclor (เมโทคลอ)Pharmaland
Dovizin (โดวิซิน)Ranbaxy
Dozozin (โดโซซิน)Umeda
Duracard (ดูราการ์ด)Sun Pharma
Genzosin (เจนโซซิน)Genovate Biotechnology
Pencor (เพนคอร์)Unison
Xadosin (ซาโดซิน)MacroPhar
Urief (ยูรีฟ)Eisai
Atodel (อโทเดล)Remedica
Hyposin 2 (ไฮโพซิน 2)V S Pharma
Lopress (โลเพรส)Siam Bheasach
Mima (มิมา)New Life Pharma
Minipress (มินิเพรส)Pfizer
Polypress (โพลีเพรส)Pharmasant Lab
Prazosin T.O. (พราโซซิน ที.โอ.)T.O. Chemicals
Pressin (เพรสซิน)Utopian
Harnal OCAS (ฮาร์นอล โอซีเอเอส)Astellas Pharma
Xatral XL (ซาทอล เอ็กซ์แอล)sanofi-aventis
Hytrin (ไฮทริน)Abbott
Desirel (ดิไซเรล)Codal Synto
Trazo (ทราโซ)Medifive
Trazodone Pharmasant (ทราโซโดน ฟาร์มาซันท์)Pharmasant Lab
Zodonrel (โซดอนเรล)Condrugs
Zorel (โซเรล)Utopian
Bi Miotic (ไบ ไมโอติก)Bell Pharma
Antilirium (แอนไทไลเรียม)Forest
Isopto Eserine (ไอซอปโต อีเซอรีน)Alcon
Anticholium (แอนไทโคเลียม)Dr. Kohler Pharma
Cipasid (ซิพาซิด)Siam Bheasach
Cisapac (ซิซาแพค)Inpac Pharma
Cisapid (ซิซาพิด)Inpac Pharma
Cisaride (ซิซาไรด์)Pharmasant Lab
Palcid (แพลซิด)Pharmadica
Pri-De-Sid (ไพร-เด-ซิด)Polipharm
Auto (ออโต้)Patar Lab
Avomit-M (เอโวมิท-เอ็ม)V S Pharma
Dany (แดนี)The Forty-Two
Dolium (โดเลี่ยม)Utopian
Domerdon (โดเมอร์ดอน)Asian Pharm
Dominox (โดมิน็อก)T. Man Pharma
Domp (ดอมพ์)Community Pharm PCL
Domperdone (ดอมเพอร์โดน)Polipharm
Domper-M (ดอมเพอร์-เอ็ม)Bangkok Lab & Cosmetic
Domp-M (ดอมพ์-เอ็ม)Community Pharm PCL
Alperol (อัลพิรอล)Pharmasant Lab
Betalol (เบตาลอล)Berlin Pharm
Betapress (เบตาเพรส)Polipharm
C.V.S. (ซี.วี.เอส)T. Man Pharma
Cardenol (คาร์ดินอล)T.O. Chemicals
Chinnolol (ชินโนลอล)Chinta
Emforal (เอ็มโฟรอล)Remedica
Idelol 10 (ไอดิลอล 10)Medicine Products
Inderal (อินดิรอล)AstraZeneca
Normpress (นอร์มเพรส)Greater Pharma
Palon (พาลอล)Unison
Perlol (เพอร์ลอล)Asian Pharm
Hypodine (ไฮโปดีน)Central Poly Trading
Clonidine Hydrochloride Injection (โคลนิดีน ไฮโดรคลอไรด์ อินเจ็กชั่น)APP Pharmaceuticals, LLC
Clonidine Hydrochloride Tablet (โคลนิดีน ไฮโดรคลอไรด์ แท็บเล็ท)Qualitest Pharmaceuticals
Catapres (คาทาเพรส)Boehringer Ingelheim Pharmaceutical Inc
Duraclon (ดูราคลอน)Xanodyne
Clonidine Patch (โคลนิดีน แพทช์)Mylan Pharmaceuticals Inc
Ucholine (ยูคอลีน)M & H Manufacturing
Neuris (นูริส)NeuPharma
Lopress (โลเพรส)Siam Bheasach

บรรณานุกรม

  1. http://quizlet.com/9040982/mod-4-systemic-parasympathomimetic-drugs-flash-cards/ [2018,Jan13]
  2. http://en.wikipedia.org/wiki/Parasympathomimetic_drug [2018,Jan13]
  3. http://en.wikipedia.org/wiki/Alpha-1_blocker [2018,Jan13]
  4. http://www.drugs.com/drug-interactions/propranolol.html [2018,Jan13]
  5. http://www.drugs.com/drug-interactions/clonidine.html [2018,Jan13]
  6. http://www.drugs.com/drug-interactions/cisapride-index.html?filter=3&generic_only= [2018,Jan13]
Updated 2018, Jan13