พัฒนาการในเด็ก (ตอนที่ 3)

พัฒนาการในเด็ก

ด้านความปลอดภัยของทารก

  • อย่าเขย่าทารก เพราะกล้ามเนื้อคอของทารกยังอ่อนอยู่ ยังไม่สามารถรับน้ำหนักศีรษะได้ ดังนั้นการเขย่าอาจทำให้เส้นประสาทเสียหายได้
  • ดูแลป้องกันสภาพแวดล้อมโดยรอบ อย่าให้ทารกต้องกลายเป็นผู้สูบบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke)
  • ป้องกันทารกจากการสำลักด้วยการบดอาหารเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และอย่าให้ทารกเล่นของเล่นชิ้นเล็กที่อาจกลืนเข้าปากได้
  • อย่าให้เด็กเล่นอะไรที่อาจคลุมหน้าทำให้หายใจไม่ออก
  • อย่าถืออาหารหรือของร้อนขณะที่อุ้มทารก
  • ฉีดวัคซีนตามกำหนด

การดูแลสุขภาพทารก

  • ให้ทารกกินนมแม่ในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด
  • ให้ทารกกินอย่างช้าๆ ลองกินรสชาติใหม่ๆ แต่อย่าบังคับ
  • ปล่อยให้ทารกได้เคลื่อนไหวมือแขนขาอย่างอิสระ
  • อย่าปล่อยให้ทารกอยู่ในเปล รถเข็นเด็ก (Stroller) เป็นเวลาที่นานเกินไป
  • จำกัดการมองจอภาพ (Screen media) ให้น้อย ทั้งนี้ The American Academy of Pediatrics (AAP) ได้แนะนำว่า ไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี มองจอภาพใดๆ เลย

เด็กวัยหัดเดิน (Toddlers) อายุ 1-2 ปี

เด็กวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดยิ้ม และโบกมือบายบาย ในปีที่ 2 เด็กจะเริ่มเคลื่อนไหวไปรอบๆ อยากที่จะหาของใหม่และพบคนมากขึ้น รู้สึกมีอิสระมากขึ้น เริ่มที่จะแสดงพฤติกรรมแข็งขืน (Defiant behavior) มองภาพตัวเองในกระจก เลียนแบบพฤติกรรมของคนอื่นโดยเฉพาะผู้ใหญ่และเด็กที่โตกว่า สามารถที่จะจดจำชื่อของคนหรือของที่คุ้นเคยด้วยการใช้ประโยคหรือวลีสั้นๆ และสามารถทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้

ในช่วงนี้พ่อแม่สามารถช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีได้ดังนี้

  • อ่านหนังสือให้เด็กฟังทุกวัน
  • ให้เด็กหาของหรือเรียกอวัยวะตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  • เล่นเกมส์จับคู่กับเด็ก เช่น หาของที่มีรูปร่างคล้ายกัน
  • สนับสนุนให้เด็กพยายามลองสิ่งใหม่ๆ
  • พัฒนาการด้านภาษาด้วยการพูดกับเด็ก และเพิ่มคำพูดในสิ่งที่เด็กพูดออกมา เช่น เด็กพูดว่า “ม่า” ก็ตอบเด็กว่า “เรียกแม่หรือจ๊ะ ?”
  • ส่งเสริมให้เด็กเติบโตด้วยการช่วยเหลือตัวเอง เช่น หัดกินเอง
  • สอนเด็กด้วยพฤติกรรมด้านบวก (Wanted behaviors) มากกว่าพฤติกรรมการลงโทษ (Punish unwanted behaviors) สอนหรือแสดงให้เด็กดูว่าเด็กควรทำอะไรแทน
  • ส่งเสริมให้เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นและจดจำวัตถุต่างๆ เช่น พาไปเที่ยวในสวน

บรรณานุกรม

1. Facts About Child Development. https://www.cdc.gov/ncbddd/childdevelopment/ [2016, December 30].