ผ่าตัดวันเดียวกลับ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ผ่าตัดวันเดียวกลับ-4

ทั้งนี้ การอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้นั้น ต้องมั่นใจว่าผู้ป่วย

  • มีสัญญาณชีพที่ปกติ (Vital signs) ซึ่งรวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต อัตราการหายใจ อุณหภูมิ และระดับความปวด
  • สามารถกินอาหารและดื่มน้ำได้ (Tolerate food and drink) ซึ่งจำเป็นต่อกรณีที่ต้องกินยาลดปวดและยาป้องกันการติดเชื้อ
  • สามารถถ่ายปัสสาวะได้
  • สามารถเดินได้ด้วยตัวเอง

และในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยควรมีคนที่คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือหากจำเป็นหรือมีปัญหาเกิดขึ้น

ส่วนกรณีการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับในเด็กนั้น

  • พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องอยู่ด้วยกับเด็ก
  • พ่อแม่หรือผู้ปกครองอาจต้องเข้าไปในที่ผ่าตัดพร้อมเด็กก่อนการวางยาสลบเพื่อให้เด็กรู้สึกสบายใจในสิ่งแวดล้อมที่แปลกไป ซึ่งพ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องอยู่ในอาการสงบเพื่อไม่ทำให้เด็กตกใจ
  • เด็กจะได้รับการดมยาเพื่อให้สลบ ซึ่งเด็กแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันไป บางคนอาจนอนเงียบไปเลย ในขณะที่บางคนอาจร้องและพยายามต่อสู้กับยาสลบ
  • เมื่อเด็กหลับแล้ว แพทย์จึงค่อยใส่สายให้สารน้ำทางหลอดเลือดและเริ่มลงมือผ่าตัด
  • พ่อแม่หรือผู้ปกครองจะต้องอยู่ด้วยกับเด็กทันทีที่เด็กฟื้น เพื่อให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย

การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับค่อนข้างปลอดภัยและมีอาการแทรกซ้อนที่น้อย อย่างไรก็ดี ก็อาจมีความเสี่ยงอยู่บ้างในเรื่องของการผ่าตัดและการวางยาสลบ (Anesthesia) ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่

  • อาการคลื่นไส้
  • อาเจียน
  • เจ็บคอ และ
  • เจ็บแผล

ส่วนกรณีที่รุนแรง (แต่ไม่ค่อยพบ) เช่น ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจวาย เลือดไหลออกมาก ฯลฯ แพทย์จะให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลต่อจนกว่าจะปลอดภัย

แหล่งข้อมูล:

  1. Outpatient Surgery. https://www.emedicinehealth.com/outpatient_surgery/article_em.htm [2018, January 13].
  2. Outpatient Surgery. https://www.hopkinsmedicine.org/healthlibrary/conditions/surgical_care/outpatient_surgery_85,P01404 [2018, January 13].