ปากแหว่งเพดานโหว่...จากโบว์ดำเป็นโบว์แดง (ตอนที่ 2)

คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดกิจกรรมให้บริการทางทันตกรรมโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย พร้อมนิทรรศการเพื่อให้ความรู้ทางทันตสุขภาพ โดยเฉพาะกิจกรรมเปิดกระปุกออมเงิน “โครงการวันละเหรียญ เพื่อผู้ป่วย

ปากแหว่ง เพดานโหว่” ของกองทุน “เฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า” เป็นกิจกรรมที่ได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง จากผู้มี จิตศรัทธาที่ ร่วมกันออมเงินเพื่อนำมาบริจาคสมทบกองทุนเฉลิมพระเกียรติ 100 ปี สมเด็จย่า

การพัฒนาลักษณะของใบหน้านั้นเป็นการทำงานร่วมกันของการเกิดสัณฐานที่ซับซ้อน และการงอกขยายเพิ่ม จำนวนอย่างรวดเร็ว ดังนั้น จึงมีความไวรับกับทั้งปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและทางพันธุกรรม ทั้งหมดนี้จึงเป็นสาเหตุของลักษณะ ความผิดปกติทางใบหน้านั่นเอง

ในช่วงสัปดาห์ที่ 6 - 8 ของการตั้งครรภ์นั้น ส่วนหัวของตัวอ่อนจะเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง และกลีบ เนื้อเยื่อขั้นต้น ทั้งห้าจะโตขึ้น ได้แก่

  • หนึ่งชิ้นงอกตั้งแต่ศีรษะลงมายังส่วนที่จะเป็นริมฝีปากบนในอนาคต (Frontonasal Prominence)
  • สองชิ้นจากแก้มทั้งสองข้าง ซึ่งมาเจอกับกลีบชิ้นแรกเพื่อรวมกันเป็นริมฝีปากบน (Maxillar Prominence)
  • ต่ำลงมา กลีบอีก 2 ชิ้นงอกขึ้นมาจากทั้งสองด้าน รวมตัวกันเป็นคางและริมฝีปากล่าง (Mandibular Prominence)

หากเนื้อเยื่อเหล่านี้ไม่สามารถมารวมตัวกันได้ ก็จะเกิดช่องว่างในตำแหน่งซึ่งเนื้อเยื่อเหล่านี้ควรเชื่อมกัน อาจเกิดขึ้น บริเวณใดบริเวณหนึ่ง หลายบริเวณ หรือบริเวณทั้งหมดเลยก็ได้ ทั้งนี้ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงตำแหน่งและความสาหัสของการ ล้มเหลวในการเชื่อมตัวกันของเนื้อเยื่อ

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ตั้งแต่รอยปากแหว่งขนาดเล็ก ไปจนถึงใบหน้าที่ผิดรูปทั้งใบหน้า ส่วนกระบวนการเชื่อม ตัวกันของเนื้อเยื่อดังกล่าวนั้นไวต่อสารพิษหลายตัว โดยเฉพาะสารมลพิษในสิ่งแวดล้อม และความไม่สมดุลทางโภชนาการ ดังนั้น ส่วนใหญ่ แล้วโรคปากแหว่งเพดานโหว่จึงมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด

นอกจากนี้ โรคปากแหว่งเพดานโหว่อาจมีสาเหตุบางประการมาจากพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม หรืออาจะมาจากทั้งสอง สาเหตุรวมกันก็ได้ หากเป็นเพราะทั้งสองสาเหตุ จะก่อให้เกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ทั้งบริเวณปากและบริเวณใบหน้า (Orofacial clefting)

โรคปากแหว่งที่เกิดตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์และตั้งแต่แรกเกิดนั้น เป็นผลมาจากมารดามีภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการที่มารดาสูบบุหรี่ บริโภคแอลกอฮอล์ และ/หรือ มีความดันโลหิตสูง ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น การสัมผัสกับยา ฆ่าแมลง การขาดอาหารและวิตามินของมารดา การดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

นอกจากนี้ ยังมีสารอนุพันธุ์ของวิตามินเอ อย่างเรตินอยด์ (Retinoid) ยาประเภทคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อาการชัก บางชนิด และการที่พ่อแม่สัมผัสกับสารตะกั่ว และยาเสพย์ติดผิดกฎหมายต่างๆ (โคเคนทั้งแบบธรรมดาและแบบสูบ เฮโรอีน เป็นต้น)

แหล่งข้อมูล:

  1. ทันตะ ม.อ. น้อมรำลึกสมเด็จย่า จัดงานวันทันตสาธารณสุข-ช่วยผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ - http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9550000128279&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2012, October 29].
  2. Cleft lip and palate. http://en.wikipedia.org/wiki/Cleft_lip_and_palate [2012, October 29].