ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 8 และตอนจบ)

มีหลายวิธีการ (Methods) ที่ใช้ประเมินผลปัจจัยมนุษย์ จากคำถามง่ายๆ จนถึงคำถามซับซ้อน ตลอดจนห้องทดลองที่เหมาะสมต่อการใช้ (Usability) แต่มีราคาแพง บางวิธีง่ายๆ ของ HF&E มีดังต่อไปนี้

  • Ethnographic analysis (ชนชาติวิทยา) การใช้วิธีที่พัฒนาจากบรรพบุรุษ กรรมวิธีนี้พุ่งเป้าไปที่การสังเกตการ

    ใช้เทคโนโลยีในสิ่งแวดล้อมที่ปฏิบัติ เป็นวิธีที่มีคุณภาพและการสังเกตซึ่งพุ่งเป้าไปที่ประสบการณ์และแรงกดดัน (Pressure) ของโลกแห่งความจริง และการใช้เทคโนโลยีหรือสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน โดยใช้กรรมวิธีการออกแบบที่ดีที่สุดก่อนหน้านี้

  • Focus Groups เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งจะถกเถียงและแสดงความคิดเห็นอย่างสะดวกเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือกรรมวิธี ภายใต้การค้นคว้าวิจัย โดยเป็นพื้นฐานการสัมภาษณ์หนึ่งต่อหนึ่ง หรือในกลุ่มศึกษา สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้ได้ปริมาณมากของข้อมูลเชิงคุณภาพ แต่เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างมีขนาดล็ก ก็อาจเจือปนด้วยคติในระดับสูงของแต่ละบุคคล สามารถใช้จุดอื่นๆ ในขบวนการออกแบบ แต่ส่วนใหญ่ขึ้นโดยตรงอยู่กับคำถาม และโครงสร้างของกลุ่ม แต่เป็นต้นทุนที่ค่อนข้างสูง
  • Iterative design เป็นต้นแบบ (Prototype) ของขบวนการออกแบบแบบต่อเนื่อง เกี่ยวข้องกลุ่มผู้ใช้ในหลายๆ ขั้นตอนของการออกแบบ เพื่อที่จะแก้ปัญหาที่ได้เกิดขึ้น และจะขึ้นอยู่กับรูปแบบอื่นของการวิเคราะห์ และผลลัพธ์จะได้รับการผนวกเข้ากับการออกแบบใหม่ แนวโน้มในบรรดาผู้ใช้ได้รับการวิเคราะห์ และผลลัพธ์จะได้รับการออกแบบใหม่อีก ซึ่งอาจกลายเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของกรรมวิธีนี้ และจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนทันทีที่เป็นไปได้ในขบวนการออกแบบ ก่อนการออกแบบจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นในที่สุด
  • Meta-analysis เป็นวิธีการทางเทคนิคที่สนับสนุน [กล่าวคือ มิใช่โดยตรง] ใช้ในการตรวจสอบโดยรวมของข้อมูลหรือเอกสารที่มีอยู่แล้วมากมาย เพื่อที่จะทราบแนวโน้มหรือรูปแบบของสมมติฐาน เพื่อช่วยการตัดสินใจออกแบบ ในการสำรวจเอกสาร การวิเคราะห์นี้จะสามารถรวบรวมแนวโน้มจากตัวแปรแต่ละตัวได้

ปัญหาก็คือจะใช้ตัววัดที่ใช้ง่ายเหล่านี้ได้อย่างไร ตลอดจนการวัดการเรียนรู้และการรักษาปฏิสัมพันธ์ (Interface) ระหว่างผู้ใช้ได้อย่างไร ในบางการศึกษาวิจัย มีการวัดปฏิกิริยา (Interact) ของผู้ใช้ที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ในมิติของคุณภาพในการใช้ ทั้งๆ ที่ไม่ความสัมพันธ์ที่ชัดเจน

แม้ว่าวิธีการหลากหลายในสนาม (Field) จะมีประโยชน์อย่างมากเพราะดำเนินการในสภาพแวดล้อมธรรมชาติของผู้ใช้ แต่ก็มีข้อจำกัดหลักบางอย่างที่ต้องพิจารณา อันได้แก่

  • ปกติจะใช้เวลาและทรัพยากรมากกว่าวิธีอื่น
  • ใช้ความพยายามอย่างสูงมาก ในการวางแผน การคัดเลือก และลงปฏิบัติ มากกว่าวิธีอื่น
  • ระยะเวลาการศึกษายาวนานมาก ดังนั้น จึงต้องการทัศนคติที่ดีของผู้ร่วมงาน
  • การศึกษาเป็นลักษณะข้ามช่วงเวลา (Longitudinal) ดังนั้น ความใส่ใจอาจกลายมาเป็นปัญหา

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0%d2%be [2013, October 20].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 20].