ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 5)

สถาบันการยศาสตร์และปัจจัยมนุษย์ (Institute of Ergonomics and Human Factors) เป็นองค์กรที่เก่าแก่ในวงการ ได้ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2489 ในสหราชอาณาจักร แต่มักเป็นที่รู้จักกันในนามของ “สโมสรการยศาสตร์” (Ergonomics Society)

นอกจากนี้ยังมี สโมสรปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์ (Human Factors and Ergonomics Society : HFES) ที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2500 โดยมีภารกิจคือการส่งเสริมการค้นพบ (Discovery) และการแลกเปลี่ยนความรู้ที่เกี่ยวข้องกับคุณลักษณะเฉพาะของการเป็นมนุษย์ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบอุปกรณ์ทุกๆ ชนิด

สหพันธ์การยศาสตร์นานาชาติ (International Ergonomics Association : IEA) เป็นการรวมตัวของนักการยศาสตร์และสังคมปัจจัยมนุษย์จากทั่วโลก โดยมีภารกิจของ ในการนำเสนอความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การยศาสตร์ในทางทฤษฎีและในทางปฏิบัติ เพื่อทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น โดยขยายขอบเขตการประยุกต์ใช้และสร้างคุณประโยชน์ให้สังคม ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2551 IEA มีสโมรสรและสมาคม 48 แห่งเป็นสมาชิก

สถาบันอาชีวเวชศาสตร์ (Institute of Occupational Medicine : IOM) ได้ก่อตั้งขึ้นโดยอุตสาหกรรมถ่าน ในปี พ.ศ.2512 โดยได้ว่าจ้างพนักงานนักการยศาสตร์ ในการเประยุกต์ใช้หลักการการยศาสตร์ ในการออกแบบเครื่องจักรเหมืองแร่และสิ่งแวดล้อม

ถึงวันนี้ IOM ยังทำเรื่องการยศาสตร์ต่อไป โดยเฉพาะในสาขา ความผิดปกติของกล้ามเนื้อโครงร่าง(Musculoskeletal disorder), ความเครียดจากความร้อน (Heat stress) และการยศาสตร์ของอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE)) ความต้องการและการเรียกร้องที่มากขึ้นของแรงผู้สูงอายุในสหราชอาณาจักร เป็นความสนใจของนักการยศาสตร์ ใน IOM ในปัจจุบัน

สโมสรนานาชาติของวิศวกรรถยนต์ (International Society of Automotive Engineers : ISAE) เป็นองค์กรวิชาชีพของวิศวกร ในอุตสาหกรรมเครื่องบิน, รถยนต์, และยานพาหนะเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะเป็นมาตรฐานการพัฒนวิศวกรรมของยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้พลังงาน อันได้แก่รถยนต์, รถบรรทุก, เรือ, เครื่องบินและอื่นๆ

ISAE สนับสนุนการออกแบบยานพาหนะต่างๆ ที่อาศัยหลักการปัจจัยมนุษย์ ได้กลายเป็นหนึ่งในองค์กรที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในวงการยศาสตร์ของการออกแบบยานยนต์ โดยปกติ องค์กรนี้จะจัดการประชุมหัวข้อที่ครอบคลุมปัจจัยมนุษย์และการยศาสตร์

ความเชี่ยวชาญเฉพาะในสาขการยศาสตร์ได้รวมถึงการยศาสตร์จากการมอง (Visual ergonomics), การยศาสตร์จากการเรียนรู้ (Cognitive ergonomics), ความสามารถในการใช้ (Usability), การปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับคอมพิวเตอร์ (Human-computer interaction) และวิศวกรรมประสบการณ์ผู้ใช้ (User experience engineering)

นอกจากนี้ ยังมีการริเริ่มนวัตกรรมใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เช่น การใช้วิศวกรรมการทดลองของผู้ใช้ (User trial engineering) แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อไปตามกาลเวล แต่ความเข้าใจปัจจัยมนุษย์ ยังสัมพันธ์กับการออกแบบเครื่องมือ, ระบบและวิธีการทำงาน เพื่อที่จะได้รับความสะดวกสบาย, สุขภาพ, ความปลอดภัย และผลผลิตที่ดีขึ้น

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0 %d2%be [2013, October 17].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 17].