ปัจจัยมนุษย์หรือการยศาสตร์ (ตอนที่ 4)

ปัจจุบัน การออกแบบอุปกรณ์ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดของมนุษย์ และใช้ประโยชน์ของความสามารถของมนุษย์ การตัดสินใจ, ความใส่ใจ, การคำนึงถึงสถานการณ์ และการประสานกันระหว่างมือและตา รวมทั้งผู้ใช้เครื่องจักรได้กลายมาเป็นกุญแจในความสำเร็จหรือล้มเหลวของภารกิจ

มีการค้นคว้าวิจัยจำนวนมากได้นำเสนอการกำหนดความสามารถและข้อจำกัดของมนุษย์ เพื่อให้บรรลุผล งานวิจัยส่วนมากได้ต่อยอดการค้นคว้าในเรื่องเวชศาสตร์การบิน ระหว่างสงครามจนสิ้นสุดสงคราม ตัวอย่างเหล่านี้คือการศึกษาองค์ประกอบที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดของการควบคุมปุ่มที่ใช้บนหน้าปัดในห้องนักบิน (Cockpit)

ส่วนมากงานวิจัยเหล่านี้ มุ่งเน้นอุปกรณ์ต่างๆ กับเป้าหมายของการควบคุม และภาพที่แสดงออกมา ให้ง่ายต่อการใช้งาน คำว่า “ปัจจัยมนุษย์”และ “การยศาสตร์” เริ่มปรากฏในปทานุกรม ในช่วงเวลานี้ แต่ก็มีการตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องบินที่ดีที่สุด และขับโดยนักบินที่ถูกฝึกอย่างดีที่สุด ก็ยังเป็นข่าวยที่ตกอยู่บ่อย ๆ

ในปี พ.ศ. 2468 กองทัพสหรัฐอเมริกา ได้แสดงให้เห็นความผิดพลาดของนักบิน สามารถลดลงได้อย่างมาก เมื่อมีการควบคุมทางตรรกวิทยาละความแตกต่าง (Logical and differentiable) แบบใหม่ แทนที่การออกแบบแบบเก่าที่สับสนบนหน้าปัดในห้องนักบิน ภายหลังสงคราม กองทัพอากาศได้ตีพิมพ์เอกสาร 19 ฉบับที่ได้รวบรวมจากการวิจัยระหว่างสงคราม

ในหลายทศวรรษ ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ปัจจัยมนุษย์ หรือ การยศาสตณ์ (Human factor and ergonomics : HF&E) ได้กการพัฒนาไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและกระจายหลากหลาย โดยแนวคิดของ HF&E ได้รับการขยายขอบเขต ให้ก้าวหน้าขึ้น แนวคิดใหม่ๆ ได้รับการพัฒนา อย่างเช่น หน่วยป้องกันทางอากาศเป็นการจัดระบบเครื่องจักรกับคน ราวกับเป็นองค์กรเดียวกัน หลังจากนั้น ความคิดชนิด “ทะลวงกำแพง” (Breakthrough)ใหม่ๆ ก็เริ่มพรั่งพรู

การเริ่มต้นของสงครามเย็น ได้นำมาซึ่งการขยายตัวของระบบการป้องกัน ได้รับการสนับสนุนโดยการวิจัยของห้องทดลองต่างๆ หลายแห่งที่สร้างขึ้นในช่วงที่สงครามได้เริ่มขยายตัว ซึ่งส่วนใหญ่ของงานวิจัยเป็นการสนับสนุนเพื่อการทหาร มีการใช้เงินจำนวนมากตามมหาวิทยาลัย เพื่องานวิจัยดังกล่าว โอกาสส่วนมากเริ่มเปิดมากขึ้นในอุตสาหกรรมสมัยใหม่

หลังปี พ.ศ. 2508 เป็นช่วงเวลาที่ได้เห็นการขยายขอบเขต HF&E ออกไปครอบคลุมถึงการพัฒนาของคอมพิวเตอร์และการใช้คอมพิวเตอร์ ในยุคอวกาศ (Space Age) ได้มีการศึกษาปัจจัยมนุษย์ใหม่ๆ อย่างเช่น สภาพไร้น้ำหนักและแรงเหวี่ยงที่รุนแรง ความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายในอวกาศ และผลกระทบต่อจิตใจและร่างกายมนุษย์

การเริ่มต้นของวัยหาข้อมูล (Information Age) มีผลต่อความสัมพันธ์ของวิชาว่าด้วยมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction : HCI) ยิ่งกว่านั้นความต้องการที่ทวีขึ้นท่ามกลางการแข่งขันของสินค้าผู้บริโภคและอิเล็กโทรนิค ได้มีผลกระทบมากมายต่อปัจจัยมนุษย์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์

แหล่งข้อมูล:

  1. รพ.วชิระภูเก็ต จัดโครงการสร้างสุขภาพด้านการยศาสตร์ในสถานประกอบการ -http://www.manager.co.th/South/ViewNews.aspx?NewsID=9560000115447&Keyword=%ca%d8%a2%c0 %d2%be [2013, October 16].
  2. Human factors and ergonomics - http://en.wikipedia.org/wiki/Human_factors_and_ergonomics [2013, October 16].