ระบบและอวัยวะที่เกี่ยวข้อง :
ปอด ระบบทางเดินหายใจ ระบบโรคติดเชื้ออาการที่เกี่ยวข้อง :
ไข้ มีเสมหะ ไอปอด (Lung) เป็นอวัยวะในระบบการหายใจที่อยู่ภายในทรวงอกทั้ง 2 ข้าง หากท่านไม่ทราบว่าปอดมีลักษณะอย่างไร ขอให้ท่านนึกถึงปอดหมูที่วางขายในตลาด ปอดของคนเราก็มีลักษณะเช่นเดียวกันคือเป็นเนื้อหยุ่นๆมีสีออกชมพู ปอดมีหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซจากอากาศที่เราหายใจเข้าไปคือ ในช่วงที่เราหายใจเข้าปอดจะทำหน้าที่นำก๊าซออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตเข้าไปเลี้ยงร่างกาย และในขณะเดียวกันปอดก็จะขับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการออกมากับลมหายใจ
เวลาปอดทำงาน เนื้อปอดจะมีการยุบตัวลงและพองตัวออกเหมือนกับการยุบตัวและการพองตัวของฟองน้ำ หากท่านนึกไม่ออกขอให้นึกถึงฟองน้ำในฝ่ามือ เวลาที่เราบีบมือฟองน้ำจะยุบตัวลงเหมือนกับเนื้อปอดที่ยุบตัวในช่วงหายใจออก และในทำนองตรงกันข้ามเวลาเราคลายมือออกฟองน้ำจะพองตัวออกเหมือนกับเนื้อปอดที่พองตัวออกในช่วงหายใจเข้า
ปกติเนื้อปอดนี้เป็นอวัยวะที่ปราศจากเชื้อโรค เมื่อมีเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่ไม่ ใช่เชื้อโรคก็ตามเข้าไปถึงเนื้อปอด จะส่งผลให้เนื้อปอดมีการอักเสบและมีการบวมเกิดขึ้น
ปกติคนที่มีสุขภาพดีร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ดี จะขจัดเชื้อโรคและของเสียในทางเดินหายใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคการขจัดเชื้อโรคและของเสียเหล่านี้จะบกพร่องและเสื่อมลงได้จากสาเหตุหลายประการเช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การขาดอาหาร การเจ็บป่วยต่างๆ (เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคภูมิคุ้มกันต้านทานโรคบก พร่องเช่น ติดเชื้อไวรัสเอชไอวี/HIV และภาวะทุพพลภาพที่ร่างกายเคลื่อนไหวได้จำกัด) การได้รับยาบางชนิดที่มีผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกัน (เช่น ยาสเตียรอยด์ ยารักษาโรคมะเร็ง/ยาเคมีบำบัด ฯลฯ) ทั้งนี้คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคลดลงนี้ หากปอดติดเชื้อก็จะเกิดปอดบวมได้ง่ายขึ้น และหากเกิดปอดบวมแล้วก็มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) ได้ง่ายตามมา
ปอดบวม/โรคปอดบวม เป็นคำที่เราคุ้นเคยและรู้จักแพร่หลายกันดีทั้งผู้ป่วย บุคคลทั่ว ไปและบุคคลากรทางการแพทย์ ทุกวันนี้จะมีคำอีก 2 คำคือ ปอดติดเชื้อ/โรคปอดติดเชื้อ และปอดอักเสบ/โรคปอดอักเสบ ที่อาจทำให้สงสัยและสับสนได้ว่าเหมือนกันกับปอดบวมหรือไม่ ซึ่งขออธิบายดังนี้
ตัวอย่างที่ 1 การเป็นหวัด และเป็นปอดบวม ปอดบวมในกรณีนี้เกิดจากเชื้อโรคที่บริเวณลำคอลุกลามลงไปในปอดเป็นปอดบวมชนิดที่เกิดจากเชื้อโรค
เชื้อโรคที่ทำให้เกิดปอดบวมส่วนใหญ่มักหมายถึงเชื้อแบคทีเรีย แต่นอกเหนือจากเชื้อแบคทีเรีย ยังมีเชื้อโรคอย่างอื่นอีกที่เป็นสาเหตุของปอดบวมได้ แต่ไม่ได้พบบ่อยเท่าเชื้อแบค ทีเรีย และบางชนิดพบได้ในบางกรณีเท่านั้น เช่น เชื้อไวรัส เชื้อรา และปรสิต เชื้อไวรัสนั้นมักพบได้ในช่วงที่มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ เชื้อราและปรสิตมักเกิดในกรณีผู้ป่วยมีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคผิดปกติ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หรือ โรคเอดส์
ตัวอย่างที่ 2 การสำลักน้ำเข้าไปในปอดเวลาคนจมน้ำ การที่น้ำเข้าไปในปอดนี้ก็ทำให้ปอดบวมและอักเสบได้ ในกรณีนี้ปอดบวมไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคแต่เกิดจากน้ำที่สำลักเข้าไป
ตัวอย่างที่ 3 การทำงานในโรงเก็บซากพืช ซากสัตว์ หรือขยะที่หมักจนเปื่อยยุ่ยและทำให้วัสดุเหล่านี้ฟุ้งกระจายไปในอากาศและสูดเข้าไปในปอด การดูดถ่ายน้ำมันและเกิดสำลักน้ำ มันเข้าไปในปอด ในกรณีเหล่านี้ก็เช่นเดียวกับตัวอย่างที่ 2 ปอดบวมที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เกิดจากเชื้อโรค แต่เกิดจากการสูดวัสดุที่สัมผัสในที่ทำงานเข้าไปในปอด
ทั้งนี้ ปอดบวมชนิดที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคนี้ อาการไม่ได้แตกต่างไปจากปอดบวมชนิดที่เกิดจากเชื้อโรคแต่อย่างใด แต่การรักษานั้นต่างกัน อย่างไรก็ดีปอดบวมมักมีสาเหตุมาจากเชื้อโรคเป็นส่วนใหญ่ จากสาเหตุอื่นก็เป็นไปได้ แต่พบได้น้อยกว่า ดังนั้น ในทางปฏิบัติ คำว่าปอดบวมจึงเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าหมายถึง ปอดติดเชื้อโดยอนุโลม และในบทความที่ท่านจะได้อ่านต่อไปนี้ ปอดบวมจะหมายถึงปอดติดเชื้อ
เมื่อเนื้อปอดบวมและอักเสบจะมีลักษณะอย่างไรนั้น ขอให้ท่านลองนึกถึงผิวหนังที่เป็นฝี เวลาเป็นฝี ผิวหนังและเนื้อบริเวณนั้นจะอักเสบและบวม มีของเสียจากฝีคือน้ำเหลืองและหนองเกิดขึ้น เนื้อปอดซึ่งมีลักษณะเดียวกับปอดหมูดังกล่าวข้างต้นแล้วก็จะมีลักษณะเช่นเดียวกันคือ อักเสบ บวม และมีของเสียจากปอด แต่ของเสียที่เกิดจากปอดบวมนี้ คือ เสมหะ
ปอดบวมเกิดขึ้นได้จากที่มีเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจหรือสำลักเอาเชื้อโรคเข้าไปในปอด มีบ้างที่เชื้อมาตามกระแสโลหิต (เลือด) มีบางครั้งแต่น้อยมากที่เชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรงจากการถูกวัตถุมีคมแทงเข้าปอด
อาการของปอดบวม ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มักมีเสมหะ มีไข้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย อา การเหล่านี้อาจมีไม่ครบทุกอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเด็กเล็กๆ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยทุพพลภาพที่ไม่สามารถช่วยตัวเองและสื่อสารได้จำกัด ควรให้ความสนใจและสงสัยมากกว่าปกติ เนื่องจากอาการอาจไม่ชัดเจน เช่น ในผู้สูงอายุ อาจจะมีเพียงมีไข้ หรือตัวอุ่นๆและซึมลงเท่า นั้น อาจจะไอเพียงเล็กน้อย หรืออาจจะไม่ไอให้เห็นก็ได้ เนื่องจากมีความจำกัดในการเคลื่อน ไหว และ/หรือกล้ามเนื้อไม่มีแรงพอที่จะไอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดปอดบวม ได้แก่
อนึ่ง อันตรายจากปอดบวมนั้นจะมีหรือไม่มี และหากมีแล้วจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ
ทั้งนี้ อาการแทรกซ้อนจากปอดบวม เช่น การเกิดมีน้ำในโพรงเยื่อหุ้มปอด การเกิดมีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด การหายใจล้มเหลว ไตล้มเหลว เชื้อเข้าสู่กระแสโลหิต (โลหิตเป็นพิษ หรือภาวะพิษเหตุติดเชื้อ/ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด) ช็อกหมดสติ ฯลฯ
โดยสรุป อันตรายจากปอดบวม และการมีผลแทรกซ้อนจะมากหรือน้อยขึ้นกับ อายุ สุขภาพของผู้ป่วย และความรุนแรงของปอดบวมที่เกิดขึ้นว่า เป็นมากหรือน้อยเพียงใด ดังนั้นการไม่รักษาสุขภาพและอนามัย การมีโรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา และรับประทานยาที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ ฯลฯ จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความรุนแรงของปอดบวม
ปอดบวมวินิจฉัยได้โดย
แนวทางการรักษาปอดบวม ประกอบด้วย
ความรุนแรงและผลข้างเคียง (ภาวะแทรกซ้อน) ของปอดบวมอาจมีเพียงเล็กน้อยหรือถึงขั้นรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ สามารถแยกได้เป็นกรณีดังนี้
ยกตัวอย่างเช่น คนไข้อายุ ๒๕ ปี สบายดีมาตลอด ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราและไม่ติดยาเสพติด รู้สึกมีไข้ เจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะ แต่ยังรับประทานอาหารได้ดี ไม่รู้สึกเหนื่อย ได้รับประทานยาลดไข้ และมารับการตรวจพบมีปอดบวม ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะไปรับประทานที่บ้านและนัดมาติดตามผลการรักษาแบบผู้ป่วยนอก
จะเห็นได้ว่า อาการปอดบวมในรายนี้ อาจมีเพียงมีไข้ ไอ มีเสมหะ ไม่เหนื่อย ยังสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้หรือใกล้เคียงปกติ การดูแลและรักษาโดยใช้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานแบบผู้ป่วยนอก และไม่จำเป็นต้องพักรักษาในโรงพยาบาล การรักษาไม่ยุ่ง ยากแต่ประการใด
ปอดบวมในกรณีเดียวกันนี้ เมื่อเกิดกับผู้สูงอายุ ไม่รักษาสุขภาพและอนามัย ไม่ได้มาพบแพทย์และไม่ได้รับการวินิจฉัยแต่แรก จำเป็นต้องรับไว้รักษาและให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดในโรงพยาบาล หากรับประทานอาหารไม่ได้หรือไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือด และหากไม่มีอาการแทรกซ้อน อาจใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่วัน เมื่ออาการทุเลา ไม่มีไข้ ผู้ป่วยสบายขึ้น อาจอนุญาตให้กลับบ้าน และรักษาต่อเนื่องแบบผู้ป่วยนอก
แต่รายเดียวกันนี้ หากมีอาการแทรกซ้อน เช่น ความดันโลหิตต่ำ ก็จำเป็นต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดนานขึ้น และหากยังเบื่ออาหาร ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ แพทย์จะพิจารณาให้อาหารเหลวทางสายให้อาหารลงกระเพาะอาหาร หรือหากมีอาการหายใจหอบเหนื่อยมากขึ้นกว่าเดิม การให้ออกซิเจนอย่างเดียวไม่พอ อาจต้องใส่ท่อเข้าหลอดลม และช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย
จะเห็นได้ว่าการรักษามีความยุ่งยากขึ้นตามลำดับต่างจากรายแรก คือ
การรักษากรณีนี้ จำเป็นต้องกระทำในห้องไอซียู โดยให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ใส่ท่อเข้าหลอดลม และใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อช่วยการหายใจ ใส่สายให้อาหารเข้ากระเพาะอาหารเพื่อให้อาหารทางสายนี้ ให้ยาเพิ่มความดันโลหิต และอาจต้องทำการฟอกไต
ปัญหาและอาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยรายนี้มีเพิ่มขึ้นและรุนแรงมากขึ้นกว่าผู้ป่วยรายข้างต้น คือ
โดยสรุป จากตัวอย่างดังกล่าว จะเห็นได้ว่าปอดบวมจะรุนแรงและมีอาการแทรกซ้อนได้ตั้งแต่
ในกรณีเดียวกันนี้ แต่หากยังรับประทานอาหารไม่ได้ ความดันโลหิตต่ำ ก็จำเป็น ต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น และต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือด และได้รับอาหารทางให้อาหารลงกระเพาะอาหาร
เมื่อท่านสงสัยว่าจะเป็นปอดบวมโดยมีอาการต่างๆดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นกล่าวคือ มีไข้ ไอ เจ็บหน้าอก และเหนื่อยง่าย ท่านควรรีบมาพบแพทย์ ภายใน 1-2 วัน เพื่อรับการวินิจฉัย ไม่ควรดูแลตนเอง
อย่างไรก็ตาม การดูแลตนเองเมื่อเป็นปอดบวมน่าจะมี ๒ กรณี คือ
ทั้ง 2 กรณี ควรปฏิบัติตนดังนี้
การป้องกันปอดบวมสามารถทำได้ไม่ยาก โดย
1. โรคปอดอักเสบ ในโรคระบบการหายใจ นพ.สุรเกียรติ อาชานุภาพ.
2. Pneumonia http://en.wikipedia.org/wiki/Pneumonia [2015,Jan17].
3. Managing CAP: An evidence – based algorithm. The Journal of Family Practice. 2007;56:722-726.
4. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumonia/basics/definition/con-20020032 [2015,Jan17]
Updated 2015, Jan 17