ปลูกไต ปลูกชีวิต (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ปลูกไตปลูกชีวิต

นอกจากนี้หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไตในระยะแรกที่มีการให้ยากดภูมิในปริมาณที่มาก ดังนั้น คนไข้จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจทำให้เป็นพิษ (Food poisoning) ได้สูง เช่น

  • เนย (Unpasteurised cheese) นม หรือ โยเกิรต์
  • อาหารที่มีส่วนผสมของไข่ดิบ เช่น มายองเนส
  • เนื้อ ปลา และหอย ที่ไม่ได้ทำการปรุงให้สุก

และเนื่องจากการกินยากดภูมิเป็นเวลานานจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอและทำให้ติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้น จึงควรระวังดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการติดต่อกับผู้ที่กำลังติดเชื้อ เช่น โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) หรือ ไข้หวัด
  • รักษาสุขอนามัย ด้วยการล้างมือให้สะอาดโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ และก่อนกินอาหาร
  • หากเป็นแผลให้รีบรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ

ทั้งนี้ การผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะไม่สามารถทำได้ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • มีการติดเชื้อบางอย่าง เช่น วัณโรค ติดเชื้อที่กระดูก หรือ โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
  • มีปัญหาที่ต้องกินยากดภูมิไปตลอดชีวิต
  • เป็นโรคหัวใจ โรคปอด หรือ โรคตับ
  • มีประวัติเป็นโรคมะเร็ง
  • มีพฤติกรรมบางอย่าง เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล หรือเสพยา

พึงระลึกเสมอว่า การรักษาตัวให้แข็งแรงเพื่อให้พร้อมสำหรับการปลูกถ่ายไตอยู่เสมอเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทำได้โดย

  • กินยาตามแพทย์สั่ง
  • กินอาหารที่มีประโยชน์และงดอาหารเค็ม
  • ออกกำลังกายตามที่แพทย์แนะนำ
  • ห้ามดื่มแอลกอฮอล์
  • ห้ามสูบบุหรี่
  • ผ่อนคลาย
  • ไปพบแพทย์ตามนัด

ส่วนกรณีที่เป็นการรอรับบริจาคไตจะต้องแจ้งให้โรงพยาบาลทราบ เพื่อสามารถทำการติดต่อได้ตลอดเวลา กรณีฉุกเฉินที่มีผู้บริจาคไต

แหล่งข้อมูล

1. Kidney transplant. http://www.mayoclinic.org/tests-procedures/kidney-transplant/basics/definition/prc-20014007 [2016, April 18].

2. Kidney transplant. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/003005.htm [2016, April 18].

3. Kidney Transplant. http://www.nhs.uk/conditions/kidney-transplant/Pages/Introduction.aspx [2016, April 18].