ปลูกไขกระดูก ปลูกชีวิตใหม่ (ตอนที่ 2)

ปลูกไขกระดูก

การปลูกถ่ายไขกระดูกประสบความสำเร็จในการใช้รักษาโรคต่างๆ เช่น

  • ลูคีเมีย (Leukemias)
  • โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่ออย่างรุนแรง (Severe aplastic anemia)
  • โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphomas)
  • โรคมะเร็งมัลติเพิลมัยอีโลมา (Multiple myeloma)
  • ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Immune deficiency disorders)
  • มะเร็งชนิดเป็นก้อน (Solid tumor cancers) บางชนิด

หรือกล่าวได้ว่า การปลูกถ่ายไขกระดูกสามารถใช้เพื่อ

  • รักษาโรคด้วยการเปลี่ยนไขกระดูกที่ไม่ดีด้วยไขกระดูกใหม่ เช่น ลูคีเมีย โลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ และโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (Sickle cell anemia)
  • กระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกายเพื่อให้ต่อสู้กับลูคีเมียหรือมะเร็งต่างๆ ที่ยังหลงเหลืออยู่หลังจากที่ทำเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด
  • ทดแทนไขกระดูกเก่าที่ถูกทำลายจากการให้เคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดในปริมาณ (Doses) ที่มาก เพื่อรักษาโรคร้าย เพราะไขกระดูกจะถูกทำลายหรือเสียหายอย่างถาวร เช่น โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) มะเร็งต่อมหมวกไตในเด็ก (Neuroblastoma)
  • ทดแทนไขกระดูกเก่าที่ถูกทำลายจากโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น ภาวะฮอร์เนอร์ (Hurler's syndrome) และโรคประสาทถดถอย หรือโรคอะดรีโนลิวโคดีสโทรฟี่ (Adrenoleukodystrophy = ALD)

ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการต้องทำการปรึกษาข้อดีและความเสี่ยงของการปลูกถ่ายไขกระดูกด้วย สำหรับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจว่า ควรทำการปลูกถ่ายไขกระดูกหรือไม่ ได้แก่

  • อายุ สุขภาพโดยรวม และประวัติการรักษา
  • ขอบเขตของโรค
  • ผู้บริจาคไขกระดูก
  • ความอดทนต่อยาบางชนิดและ ขั้นตอนการรักษา

มีการนับวันสำหรับขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูก ซึ่งเป็นไปเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้เข้าใจถึงแผนการ ความเสี่ยง และขั้นตอนที่อาจเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา โดย

  • วันที่ทำการปลูกถ่ายไขกระดูกจะนับเป็นวันที่ 0
  • วันที่เกิดก่อนวันทำการปลูกถ่ายไขกระดูกจะนับว่าเป็นวันที่ – เช่น -8 เป็นวันที่ผู้ป่วยต้องไปอยู่โรงพยาบาลเพื่อการเตรียมการปลูกถ่ายไขกระดูก
  • วันที่เกิดหลังวันทำการปลูกถ่ายไขกระดูกจะนับว่าเป็นวันที่ + เช่น +1, +2

แหล่งข้อมูล

1. Bone Marrow Transplantation. http://www.hopkinsmedicine.org/healthlibrary/conditions/hematology_and_blood_disorders/bone_marrow_transplantation_85,P00086/ [2016, October 1].