“ปลูกถ่ายอวัยวะ” ความหวังที่รอคอย (ตอนที่ 4)

ในปัจจุบันอวัยวะและเนื้อเยื้อหลักที่สามารถปลูกถ่าย ได้แก่

อวัยวะในช่องอก (Thoracic organs) ประกอบด้วย

  • หัวใจ (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตเท่านั้น)
  • ปอด (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่)
  • หัวใจ/ปอด ((ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและการปลูกถ่ายแบบโดมิโน)
  • อวัยวะในช่องท้อง (Abdominal organs) ประกอบด้วย
  • ไต (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่)
  • ตับ (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่)
  • ตับอ่อน (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตเท่านั้น)
  • ลำไส้ (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่)
  • กระเพาะ (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตเท่านั้น)
  • ลูกอัณฑะ (Testis)
เนื้อเยื่อ, เซลล์, ของเหลว (Tissues, cells, fluids) ประกอบด้วย
  • มือ (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตเท่านั้น)
  • กระจกตา (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตเท่านั้น)
  • ผิวหนัง ซึ่งรวมถึงผิวหน้าบางส่วนและทั้งใบหน้า
  • เซลล์ตับอ่อน (Islets of Langerhans) (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่)
  • ไขกระดูก/สเต็มเซลล์ (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคยังมีชีวิตอยู่และเป็นการปลูกถ่ายแบบออโทกราฟท์)
  • เลือดและองค์ประกอบ (ใช้ได้กรณีผู้บริจาคยังมีชีวิตอยู่และเป็นการปลูกถ่ายแบบออโทกราฟท์)
  • หลอดเลือด ((ใช้ได้กรณีผู้บริจาคเสียชีวิตเท่านั้นและเป็นการปลูกถ่ายแบบออโทกราฟท์)
  • ลิ้นหัวใจ (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่ และเป็นการปลูกถ่ายแบบซีโนกราฟท์จากหมูและวัว)
  • กระดูก (ใช้ได้ทั้งกรณีผู้บริจาคเสียชีวิตและยังมีชีวิตอยู่)

ผู้บริจาคอาจยังมีชีวิตอยู่หรืออาจมีสมองตาย (Brain death) หรือระบบไหลเวียนในร่างกายหยุดทำงานแล้ว (Circulatory death) ส่วนใหญ่มักจะได้อวัยวะจากผู้บริจาคที่สมองตายแล้ว (ซึ่งมาจากการเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย) แต่ยังหายใจอยู่ได้เพราะมีเครื่องช่วย หลังจากที่แพทย์มีการระบุว่าเป็นบุคคลที่สมองตายแล้ว จึงจะสามารถนำอวัยวะไปบริจาคได้ สำหรับเกณฑ์ในการกำหนดว่าสมองตายนั้นจะแตกต่างกันไปในแต่ละแห่ง

ในบางกรณีหลังจากที่หัวใจหยุดเต้นแต่อยู่ได้ด้วยเครื่องช่วยต่างๆ แล้วมีการตัดสินใจที่จะยุติการใช้เครื่องช่วยทุกชนิด ทันทีที่ถอดเครื่องช่วยออกและผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว แพทย์จะต้องรีบทำการผ่าตัดนำอวัยวะออกโดยเร็ว เพราะสามารถนำมาใช้บริจาคภายหลังการเสียชีวิตไม่เกิน 24 ชั่วโมง ตรงข้ามกับอวัยวะ เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ (ยกเว้นกระจกตา) จะสามารถเก็บรักษาได้เป็นเวลาถึง 5 ปี

แหล่งข้อมูล:

  1. Organ transplantation. http://en.wikipedia.org/wiki/Organ_transplantation [2013, October 1].