ประหม่าเกินเหตุหรือเขินเกินไป (ตอนที่ 4)

ประหม่าเกินเหตุหรือเขินเกินไป

1.2 ผลจากตัวเอง

  • มักมองตนเองในแง่ลบ ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่ค่อยเห็นข้อดีของตนเอง ไม่ค่อยเห็นคุณค่าในตนเอง ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง มีความคิดกับตนเองในแง่ลบบ่อยๆ เช่น ถ้าฉันแสดงตัวตนของฉันออกไป คนจะต้องปฏิเสธฉันแน่นอน หรือความคิดเห็นของฉันไม่ได้เรื่อง เป็นต้น
  • มีความคาดหวังกับตัวเองมาก มีมาตรฐานกับตัวเองสูง จนไม่ค่อยรู้สึกพอใจกับตัวเองสักที
  • รู้สึกว่าตนเองมีปมด้อยอยู่ตลอด มองว่าตนเองสู้คนอื่นไม่ได้ (Inferior)
  • ขาดความมั่นคงจากภายใน ต้องการการเติมเต็มจากคนภายนอกอย่างมาก จึงสั่นไหวกับสายตาคนอื่นอย่างมาก
  • เป็นคนที่มีลักษณะวิตกกังวลง่ายอยู่เเล้ว และมักชอบคิดเรื่องต่างๆ ไปล่วงหน้า โดยเฉพาะมักคิดไปในแง่ลบ

1.3 ผลจากอิทธิพลในสังคมหรือวัฒนธรรม

  • สังคมหรือวัฒนธรรมที่ใช้ความรู้สึกอับอายต่อสายตาคนอื่นเป็นการลงโทษ
  • สังคมที่อ่อนไหวต่อคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก
  • สังคมที่เน้นเรื่องภาพลักษณ์มากหรือมีมาตรฐานสูง
  • สังคมที่มักตัดสินคนอื่นๆ ที่การแสดงออกเป็นหลัก
  • สังคมที่อัตราการแข่งขันสูง
  • สังคมที่ไม่คุ้นเคย ก่อให้เกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยก
  • สังคมที่ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย เป็นสังคมที่เต็มไปด้วยคำตำหนิ เป็นต้น

1. สาเหตุด้านร่างกาย

2.1 ผลด้านพันธุกรรม พบว่าในญาติพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า

2.2 ผลจากสารสื่อประสาทในสมองที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวลหลั่งผิดปกติ ทำให้เกิดความกลัวกังวลง่ายกว่าคนทั่วไป จนเกิดอาการกังวลขึ้นทั้งทางร่ายกายและทางจิตใจไวกว่าปกติ

สำหรับการวิเคราะห์โรคนี้ แพทย์จะทำการถามคำถามประวัติทางการรักษาและทำการตรวจร่างกายด้วยวิธีทดสอบต่างๆ หากไม่มีสิ่งปกติทางร่างกาย ก็อาจจะส่งตัวต่อไปยังจิตแพทย์ (Psychiatrist) นักจิตวิทยา (Psychologist) หรือผู้ชำนาญโรคจิต

แหล่งข้อมูล

1. รู้จัก "โรคประหม่ากังวลต่อหน้าสังคม" : ผลเสียรุนแรง หากไม่รักษา. http://manager.co.th/goodhealth/ViewNews.aspx?NewsID=9590000036665 [2016, July 13].

2. Social Anxiety Disorderhttp://www.webmd.com/anxiety-panic/guide/mental-health-social-anxiety-disorder [2016, July 13].