ปฐมพยาบาลภาคสนาม (ตอนที่ 7 และตอนจบ)

ปฐมพยาบาลภาคสนาม

แนวทางด้านการบริหารจัดการโรงพยาบาลสนาม (ต่อ)

3. ระบบการดูแลการรักษาผู้ป่วยให้เป็นไปตามแนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วยของกระทรวงสาธารณสุข

4. ระบบการบริหารจัดการหน่วยผู้ป่วยนอก หอผู้ป่วย การจัดเวร ประเมินความเพียงพอของการให้บริการ

5. ระบบการขนส่งต่างๆ รวมถึง ระบบการส่งต่อผู้ป่วย การขนส่งวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ วัสดุอุปกรณ์อื่นๆ ขยะติดเชื้อ และการจัดการและการเคลื่อนย้ายศพ

6. ระบบการเชื่อมโยง เช่น ระบบเวชระเบียน การติดต่อสื่อสารทั่วไป ระหว่างโรงพยาบาลสนามกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานป้องกันควบคุมโรค การประชาสัมพันธ์

7. ระบบการป้องกัน ควบคุม การติดเชื้อ และแพร่กระจายเชื้อ

8. ระบบสนับสนุน รวมถึงการจัดการด้านสาธารณูปโภค ที่พักบุคลากร โภชนาการ เครื่องปั่นไฟ เครื่องกรองน้ำ ประปา สนาม ฯลฯ

9. ระบบรักษาความปลอดภัยแก่บุคลากร ผู้ป่วย ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุอุปกรณ์ต่างงๆ

10. งานสังคมสงเคราะห์และจิตวิทยา

สำหรับของบุคลากรในโรงพยาบาลสนาม จะประกอบด้วย

  1. บุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ สาขาอื่น เช่น นักเทคนิคการแพทย์ นักรังสี นักศึกษาแพทย์ นักศึกษาพยาบาล นักศึกษาด้านการ แพทย์ และสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติมาแล้ว ทั้งนี้ ควรใช้บุคลากรในพื้นที่ระบาดก่อนอาสาสมัครที่ได้รับการอบรมและฝึกปฏิบัติมาแล้ว
  2. บุคลากรที่ทำหน้าที่บริหารจัดการ ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบหลักด้านการแพทย์ ผู้รับผิดชอบหลักด้านการพยาบาล ผู้รับผิดชอบด้านบริหารงานทั่วไป
  3. บุคลากรสนับสนุนด้านต่างๆ ประกอบด้วย งานเวชระเบียน การสื่อสารประชาสัมพันธ์ งานธุรการ งานพัสดุและ เวชภัณฑ์ การเงิน โภชนากร งานสาธารณูปโภค งานช่างและซ่อมบำรุง งานยานพาหนะ งานจ่ายกลาง งานผ้า งานขยะ และการจัดการศพ

บรรณานุกรม

1. Field hospital. https://simple.wikipedia.org/wiki/Field_hospital [2016, October 28].

2. แนวทางการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม. http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/ospital-29945193 [2016, October 28].