ปฏิวัติสุขภาพ ปฏิเสธยาปฏิชีวนะ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

การเติบโตอย่างแพร่หลายและแนวโน้มการติดเชื้อจากเชื้อโรคที่ดื้อต่อยาหลายชนิด การติดเชื้อในโรงพยาบาล มีสาเหตุส่วนใหญ่จากเชื้อโรคที่ดื้อต่อยาหลายชนิด แต่เชื้อโรคที่ดื้อต่อยาหลายชนิดกำลังมีการเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายในชุมชน

ก่อนการค้นพบยาปฏิชีวนะ เชื้อแบคทีเรียยังมีการดื้อยาไม่มาก หลังจากมีการใช้ยาปฏิชีวนะ เชื้อเริ่มมีการพัฒนาการดื้อยาหลายชนิด และมีการถ่ายทอดการดื้อยาการดื้อยาระหว่างแบคทีเรียด้วยกัน ปัญหาการดื้อยาก็ยังสืบเนื่องจากการใช้ผิดประเภทและใช้มากเกินไป ในบางประเทศมีการขายยาปฏิชีวนะในร้านยาโดยไม่มีใบสั่งแพทย์ ซึ่งทำให้เกิดการดื้อยา

มีการใช้ยาปฏิชีวนะในอาหารสัตว์เพิ่มมากชึ้นก็เป็นสาเหตุให้เชื้อดื้อยา การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้าน เช่น สบู่ และผลิตภัณฑ์อื่น แม้ว่าไม่แน่ชัดว่าทำให้เกิดการดื้อยา แต่ไม่มีผลในการควบคุมการติดเชื้อ

อุตสาหกรรมการผลิตยามีส่วนสนับสนุนต่อการดื้อยาปฏิชีวนะของเชื้อเพิ่มขึ้น กรรมวิธีและปฏิบัติการทางคลินิกในระหว่างการรักษาด้วยยามักมีข้อบกพร่องเสมอ โดยปกติก็ไม่มีขั้นตอนในการแยกผู้ป่วยเพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำหรือติดเชื้อโรคชนิดใหม่ เป้าหมายในการกำจัดเชื้ออย่างสมบูรณ์เมื่อสิ้นสุดการรักษาก็ไม่ได้ผล

ยาปฏิชีวนะที่ใช้ในสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2540 พบว่า ครึ่งหนึ่งของยาถูกใช้ในคน อีกครึ่งหนึ่งของยาถูกใช้ในสัตว์ แล้วยังมีหลักฐานว่าการดื้อยาปฏิชีวนะเกิดขึ้นเองในธรรมชาติเป็นเรื่องปกติธรรมดา

ในปี พ.ศ. 2495 มีการค้นพบว่า แบคทีเรียที่ดื้อต่อยาเพนนิซิลิน (Penicillin) มีอยู่แล้วก่อนที่จะ/มีการค้นพบยา ยาเพนนิซิลิน ในด้านเภสัชกรรมพบว่า การกินยาปฏิชีวนะเป็นจำนวนมากเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการดื้อยามากกว่าความสะดวกในการกินยา

โรคหวัดเป็นอีกโรคหนึ่งซึ่งชอบใช้ยาปฏิชีวนะเป็นจำนวนมาก แม้ว่ายาปฏิชีวนะจะไม่มีประโยชน์ต่อเชื้อไวรัสเลย การดื้อต่อยาปฏิชีวนะทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้น นานจนกว่าจะได้ผลที่พอใจ (ขึ้นกับชนิดของเชื้อโรคและยาปฏิชีวนะ) การใช้ยาปฏิชีวนะในชุมชนช่วงเวลาสั้นๆ จะลดอัตราการดื้อยา ลดค่าใช้จ่าย และให้ผลการรักษาดีกว่า เนื่องจากมีความซับซ้อนน้อยกว่า แต่ในบางสถานการณ์การให้ยาช่วงสั้นๆ อาจให้ผลด้อยกว่าการรักษาในระยะยาว

นักวิจัยหลายท่านไม่เห็นด้วยที่ระบุว่า ”กินยาเหล่านี้ให้หมดถ้าแพทย์มิได้ชี้แนะ” เพราะยาปฏิชีวนะสามารถหยุดได้อย่างปลอดภัยหลังกินยา 72 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามการติดเชื้อบางอย่างต้องใช้เวลาในการรักษานาน และการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่มีประสิทธิภาพพอทำให้กลับมาติดเชื้อได้ใหม่

แพทยอาจต้องแนะนำคนไข้ว่าเมื่อไหร่จึงหยุดยาได้อย่างปลอดภัย เพราะบางครั้งผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นก่อนที่เชื้อโรคจะถูกกำจัดทั้งหมด นักวิจัยหลายท่านแนะนำแพทย์ให้ใช้ยาปฏิชีวนะช่วงสั้นๆ แล้วประเมินผลคนไข้ ถ้าอาการไม่ดีขึ้นให้หยุดยา แต่ ประชาชนส่วนมากมักจะไม่กินยาต่อจนหมดเพราะรู้สึกว่าอาการดีขึ้น ซึ่งมีประมาณ 10% - 44% แล้วแต่แต่ละประเทศ

การกินยาวันละ 1 ครั้งดีกว่าการกินยาวันละ 2 ครั้ง คนไข้ที่กินยาน้อยกว่าที่กำหนดหรือไม่กินยาในระยะเวลาที่กำหนด มีผลลดความเข้มข้นของยาในเลือดและเนื้อเยื่อ และการสัมผัสกับเชื้อด้วยความเข้มข้นของยาปฏิชีวนะที่ต่ำกว่าที่เหมาะสม จะเป็นสาเหตุให้เกิดการดื้อยา

แหล่งข้อมูล:

  1. Antibiotics: When They Can and Can't Help - http://familydoctor.org/familydoctor/en/drugs-procedures-devices/prescription-medicines/antibiotics-when-they-can-and-cant-help.printerview.all.html [2013, April 14].
  2. Antibiotic resistance - http://en.wikipedia.org/wiki/Antibiotic_resistance [2013, April 14].