ปฏิวัติสุขภาพ ปฏิเสธยาปฏิชีวนะ (ตอนที่ 1)

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ปี พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีการนำเข้าและผลิตยาปฏิชีวนะสูงเป็นอันดับ 1 มีมูลค่าถึง 20% ของยาทั้งหมด หรือประมาณ 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลยที่สูงมากหากเทียบกับประเทศอื่นๆ ขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มนำเข้ายาจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

เนื่องจากตามกฎหมายกำหนดให้ยาปฏิชีวนะเป็นยาอันตราย โดยมีคำเตือนเป็นกรอบสีแดงอยู่ข้างกล่อง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) จึงได้ริเริ่มโครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล Antibiotics Smart Use (ASU) ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2549 ค่อยๆ ขยายฐานความรู้ความเข้าใจในเรื่องการใช้ยาอันตรายชนิดนี้ต่อภาคประชาชน

การรณรงค์โครงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล ของ อย. ก็ได้ดำเนินแผนการส่งเสริมอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม โดยเริ่มแรกนำร่องในสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธรณสุขและสาธารณะสุขชุมชน ยกตัวอย่าง โรงพยาบาลศิริราช ก็ลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยได้ดี

ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) Aเป็นยาที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อจากแบคทีเรีย การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องเหมาะสม สามารถช่วยชีวิตได้ เพราะจะยาออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อ หรือไม่ก็ทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต ภูมิต้านทานโดยธรรมชาติของร่างกายเราปกติสามารถป้องกันได้อยู่แล้ว

ยาปฏิชีวนะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อที่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส อาทิเช่น โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ อาการไอและหลดลมอักเสบ และเจ็บคอ ถ้าไม่ใช่สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียสเต็บโตคอคคัส (Streptococcus) ถ้าเชื้อไวรัสทำให้ท่านป่วย การกินยาปฏิชีวนะอาจจะทำให้เกิดอันตรายมากกว่าจะดีขึ้น แต่ละครั้งที่กินยาปฏิชีวนะอาจทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้

หลังจากนั้นท่านอาจจะได้รับ หรือแพร่กระจายการติดเชื้อซึ่งยาปฏิชีวนะไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ เมื่อท่านกินยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ท่านต้องกินยาให้หมดแม้ว่าท่านจะรู้สึกดีขึ้น ถ้าหยุดกินยาทันทีทันใด แบคทีเรียบางตัวอาจจะอยู่รอดและกลับมาติดเชื้อใหม่ ไม่ควรเก็บยาปฏิชีวนะไว้ใช้ในภายหลัง หรือนำไปใช้กับคนอื่น

ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ใช้รักษาการติดเชื้อ รวมทั้งโรคติดต่อที่ถึงแก่ชีวิต แต่ยาปฏิชีวนะอาจเป็นอันตรายมากกว่า ถ้าใช้ไม่ถูกทาง ท่านสามารถป้องกันตัวท่านเองและครอบครัวของท่าน โดยต้องรู้ว่าเมื่อไหร่ควรกินยา เมื่อไหร่ไม่ต้องกินยา ยาปฏิชีวนะจะออกฤทธิ์ต้านการติดเชื้อโดยแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อปรสิตเท่านั้น ยาไม่ได้ออกฤทธิ์ต้านการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ ไอ และเจ็บคอ

การดื้อยาปฏิชีวนะและการดื้อยาของเชื้อแบคทีเรียมีความหมายเหมือนกัน ปกติยาปฏิชีวนะจะฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อ อย่างไรก็ตามแบคทีเรียบางสายพันธุ์ได้มีการดื้อยาปฏิชีวนะบางชนิด หมายความว่ายาใช้ไม่ได้ผล แบคทีเรียอาจดื้อยาได้เร็วขึ้นเมื่อยาถูกใช้บ่อยๆ หรือตามคำแนะนำของแพทย์ (เช่น ไม่กินยาให้หมด)

แบคทีเรียที่ดื้อต่อยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่งอาจสามารถรักษาด้วยยาปฏิชีวนะอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งยานี้อาจต้องให้ทางเส้นเลือดดำ แบคทีเรียบางสายพันธุ์อาจดื้อต่อยาปฏิชีวนะทั้งหมด และปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาได้ ดังนั้น อย่าคาดหวังว่ายาปฏิชีวนะสามารถรักษาทุกโรคได้

แหล่งข้อมูล:

  1. ปฏิวัติสุขภาพ ปฏิเสธยาปฏิชีวนะ!? -http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000037979&Keyword=%c2%d2%bb%af%d4%aa%d5%c7%b9%d0 [2013, April 12].
  2. Antibiotics - http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/antibiotics.html [2013, April 12].