ปฏิบัติการในโรงพยาบาล - จากมุมมองของผู้บริหาร
ตอนที่ 98 : แผนกควบคุมการติดเชื้อ

แผนกควบคุมการติดเชื้อ (Infection control) รับผิดชอบการป้องกันโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล (Nosocomial infection) ซึ่งเป็นแขนงย่อยของโรคระบาดไปทั่ว (Epidemiology) และนับเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างพื้นฐาน การ ดูแลสุขภาพ มีแนวทางปฏบัติเช่นเดียวกับกระทรวงสาธารณสุข เพียงแต่การควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล อยู่ในระดับท้องถิ่น เมื่อเทียบกับระดับประเทศของกระทรวงสาธารณสุข

การติดเชื้อในโรงพยาบาล หมายถึงการติดเชื้อที่ไม่เกิดขึ้นก่อนหน้าที่ผู้ป่วยจะเข้าโรงพยาบาล แต่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้ป่วยนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยทั่วไปมี 2 ประเภท ประเภทแรกเป็นการติดเชื้อของตัวพาหะ (Agent) ภายในร่างกาย (Endogenous) ของผู้ป่วยเอง (Self-infection/auto-infection) หรือวิวัฒนาจากภูมิต้านทานตามธรรมชาติ (General resistance) แล้วภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลงไป (Altered resistance)

ประเภทที่ 2 เป็นการติดเชื้อภายนอกร่างกาย (Exogenous) ผ่านการปนเปื้อนข้ามคน (Cross-contamination) ที่ตามมาด้วยกับการติดเชื้อข้ามตัวพาหะ (Cross-infection) อาทิ ระหว่างการรักษาหรือนอนพักในโรงพยาบาล ผู้ป่วยสัมผัสกับตัวพาหะใหม่ และเกิดการปนเปื้อนขึ้น แล้ววิวัฒนาเป็นการติดเชื้อในเวลาต่อมา

การควบคุมการติดเชื้อ คำนึงถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับแหล่ง (Sources) การติดเชื้อ และเส้นทาง (Routes) การแพร่กระจายของเชื้อโรคภายในโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อจากผู้ป่วยถึงผู้ป่วย จากผู้ป่วยถึงบุคลากรในโรงพยาบาล และจากบุคลากรดังกล่าวถึงผู้ป่วย หรือระหว่างบุคลากรกันเอง รวมทั้งมาตรการป้องกันต่างๆ นานา อันได้แก่

  • การล้างมือ/สุขอนามัย (Hygiene)
  • การทำความสะอาด/ฆ่าเชื้อด้วยน้ำยา (Disinfection) หรือกระบวนการทำให้ปลอดเชื้อ (Sterilization)
  • การฉีดวัคซีน (Vaccination)
  • การเฝ้าระวัง (Surveillance)
  • การติดตามผล (Monitoring)/การตรวจสอบ (Investigation) เมื่อมีการติดเชื้อที่แพร่กระจายไปแล้ว (Demonstrated) หรือสงสัย (Suspected) ว่ากำลังจะแพร่กระจายภายในโรงพยาบาล

ปฏิบัติการดังกล่าวต้องได้รับการบริหารจัดการอย่างเข้มงวด จนเป็นส่วนหนึ่งขององค์รวม (Integral) การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และครอบคลุม (Comprehensive) ประเด็นสำคัญอยู่ที่การจัดการขัดขวางการแพร่ระบาด (Interruption of outbreaks) [อาทิ การกำจัดแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค] ด้วยภาระหน้าที่เช่นนี้ โรงพยาบาลบางแห่งจึงเรียกแผนกนี้ว่า แผนก “ป้องกันและความคุมการติดเชื้อ” (Infection Prevention & Control)

ผมขอเชิญชวนคุณผู้อ่านให้ (1) เขียนมาสอบถามเนื้อหาที่มีข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างขึ้น (2) ชี้แนะข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งขาดตกบกพร่อง เพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง (3) แสดงความคิดเห็นในแต่ละตอน ทั้งติและชม เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น และ (4) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนร่วมกัน ครับ

แหล่งข้อมูล:

  1. Infection control : http://en.wikipedia.org/wiki/Infection_control [2013, December 7].
  2. Medical waste : http://www.who.int/water_sanitation_health/medicalwaste/148to158.pdf [2013, December 7].