ปฏิบัติการในโรงพยาบาล - จากมุมมองของผู้บริหาร
ตอนที่ 77 : บทบาทนักแก้ไขการพูดและภาษา

นักแก้ไขการพูดและภาษา (Speech-language pathologist : SLP) เป็นผู้วินิจฉัยผู้ป่วยที่แสดงการเปลี่ยนแปลงในการพูดและการฟัง ตลอดจนทักษะความคิดอ่าน (Critical thinking) โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรควิวัฒนาเป็นโรคสมองเสื่อม (Dementia) โรคประสาทอาการสั่น/พาร์กินสัน (Parkinson’s) และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic lateral sclerosis : ALS)

เมื่อกลุ่มอาการของโรคเหล่านี้เลวร้ายลง และเริ่มมีผลกระทบต่อความชัดเจนของการพูดและความปลอดภัยของการกลืน นักแก้ไขการพูดและภาษา จะให้การบำบัด คำแนะนำ และการสนับสนุน โดยเป็นเพียงส่วนหนึ่งของทีมงานที่ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย (Rehabilitation services) หรือแยกการทำงานออกมาเป็นแผนกอิสระในโรงพยาบาล

ถึงแม้จะเป็นแผนกอิสระ นักแก้ไขการพูดและภาษา จะเป็นสมาชิกในทีมงานสหวิชาชีพดูแลสุขภาพ (Multi-disciplinary healthcare professionals) ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกัน เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยอย่างสมบูรณ์ (Comprehensive)

เนื่องจากความจำเป็นของผู้ป่วยแตกต่างไปตามข้อบกพร่องนานัปการ (Multiple areas of deficit)

สมาชิกอื่นๆ ในทีมงาน ได้แก่ นักกายภาพบำบัด (Physical therapist) นักบำบัดอาชีวะ (Occupational therapist) และนักบำบัดทางเดินหายใจ (Respiratory therapist) ซึ่งอาจมีจำนวนมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับขนาดและสถานที่ในโรงพยาบาล หรือเป็นส่วนหนึ่งในแผนกหู คอ จมูก (Otolaryngology) ของโรงพยาบาล

ศูนย์อุบัติการร้ายแรง (Trauma center) ระดับที่ 1 – 2 ในสหรัฐอเมริกา มักกระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ดังนั้นทีมนักแก้ไขการพูดและภาษาจะแบ่งภาระงาน (Caseload) ดูแลผู้ป่วย ตามความเชี่ยวชาญ อาทิ คนหนึ่งประเมินความผิดปรกติในเรื่องการกลืนในผู้ใหญ่ อีกคนหนึ่งอาจมีประสบการณ์มากว่าในผู้ป่วยเด็ก และอีกคนหนึ่งอาจชำนาญความผิดปรกติทางเสียง (Voice)

การฟื้นฟูการรับรู้ (Cognitive rehabilitation) และ อุปสรรคในการเข้าใจและใช้ภาษา (Aphasia) มักปฏิบัติงานในแผนกหรือโรงพยาบาลที่ใหญ่ขึ้น นักศึกษาปริญญาเอก อาจมีห้องปฏิบัติการวิจัย (Research laboratory) ในศูนย์อุบัติการร้ายแรง เพื่อค้นหาสาเหตุของความผิดปรกติของการสื่อสารและการกลืน หรือประสิทธิผล (Efficacy) ของวิธีการ และผลลัพธ์ (Outcome) ในปฏิบัติการด้วยประจักษ์หลักฐาน (Evidence-based practice)

ส่วนในแผนกหรือโรงพยาบาลขนาดเล็ก ทีมงานจะมีขนาดเล็กลง นักแก้ไขการพูดและภาษาคนหนึ่งอาจต้องทำงานหลายอย่างในการดูแลผู้ป่วยที่อาจทีอายุต่างๆ นานา และขอบเขตของความผิดปรกติ (Disorder spectrum) หรือว่าจ้างจากภายนอก (Outsource) แต่ไม่ว่าจะเป็นขนาดหรือจุดหมายปลายทาง (Designation) ใด ข้อสำคัญคือการสื่อสารกับสมาชิกอื่นๆ ในทีมนักวิชาชีพดูแลสุขภาพ ซึ่งรวมทั้งแพทย์และพยาบาล เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยที่มีความบกพร่องได้รับบริการที่จำเป็น

ผมขอเชิญชวนคุณผู้อ่านให้ (1) เขียนมาสอบถามเนื้อหาที่มีข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างขึ้น (2) ชี้แนะข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งขาดตกบกพร่อง เพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง (3) แสดงความคิดเห็นในแต่ละตอน ทั้งติและชม เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น และ (4) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนร่วมกัน ครับ

แหล่งข้อมูล:

  1. Griffin, Donald J. (2012). Hospitals : What They Are and How They Work (4th Ed). Sudbury, MA : Jones & Bartlett Learning.
  2. ประสบการณ์จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลประสานมิตร (มูลนิธิสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย) และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี)