ปฏิบัติการในโรงพยาบาล - จากมุมมองของผู้บริหาร
ตอนที่ 70 : ปฏิบัติการของนักกายภาพบำบัด

นักกายภาพบำบัด (Physical therapist) มักจะให้บริการ ณ ข้างเตียง (Bedside treatment) ในห้องผู้ป่วย เพราะผู้ป่วยไม่สามารถออกจากห้อง ด้วยเหตุผลทางการแพทย์ หรือผู้ป่วยเหนื่อยง่ายจากกระบวนการขนส่งไปยังโรงพละกายภาพบำบัด (Physical therapy gym) ศูนย์ดูแลการเคลื่อนไหวช่วงสั้น (Ambulatory) และหน่วยงานบริวารเพื่อการฟื้นฟู (Satellite rehabilitation)

ในกรณีเช่นนี้ นักกายภาพบำบัดในห้องผู้ป่วย ต้องขนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นมายังห้องผู้ป่วย อาทิ อุปกรณ์ช่วยเดิน (Walker) เพื่อช่วยพยุง (Support) ไม้เท้าค้ำจุน (Standing frame) ส่วนในกรณีกายภาพบำบัดในโรงพละ (Gym treatment) มักมีอุปกรณ์พร้อม หรือติดตั้งอยู่แล้วภายในโรงพละ

อุปกรณ์ดังกล่าวได้แก่ เครื่องปรับระดับสูง-ต่ำ (High-low) โต๊ะเสื่อ (Mat table) เพื่อฝึกหัดการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายขั้นพื้นฐาน แท่งขนาน (Parallel bar) เพื่อกิจกรรมการยืน การเดิน และความสมดุล ตลอดจนบันไดพร้อมราวจับ (Steps with rails) เพื่อฝึกฝนความสามารถในการเดินขึ้นเดินลง

แต่ละครั้ง (Episode) ของกายภาพบำบัด มักเริ่มต้นด้วยการตรวจขั้นต้นและประเมินผู้ป่วย โดยนักกายภาพบำบัด ตามด้วยการรักษา (Intervention) อันได้แก่ การฝึกหัดการเคลื่อนที่บนเตียง (Bed mobility) การโยกย้าย (Transfer) การย่างเท้าหรือเดิน (Gait) ความสมดุลระหว่างเคลื่อนไหว การออกกำลังกายเพื่อบำบัด รวมทั้งการให้การศึกษาผู้ป่วยและญาติ

นอกจากนี้ นักกายภาพบำบัดยังช่วยจัดซื้ออุปกรณ์ที่เหมะสม ดูแลบาดแผล ประยุกต์ใช้สิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ เครื่องมืออังความร้อน (Thermal modality) และเครื่องจำลองไฟฟ้า (Electrical simulation) หัตถการกายภาพบำบัด เกิดจากใบสั่งแพทย์ เมื่ออาการผู้ป่วยเริ่มมีเสถียรภาพ แล้วดำเนินต่อไปจนกว่าผู้ป่วยจะได้รับคำสั่งแพทย์ให้ออกจาก (Discharge) จากโรงพยาบาลได้

ผู้ป่วยได้ประโยชน์จากคำแนะนำวิชาชีพของนักกายภาพบำบัด อาทิ ความเสี่ยงสูงจากการตกเตียง มาตรการป้องกันหรือลดความเสี่ยงดังกล่าว ชนิดของอุปกรณ์การแพทย์ที่ทนทาน รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ อุปกรณ์ช่วยเดิน ไม้เท้านำทาง (Cane) และเก้าอี้รถเข็น (Wheelchair) รวมทั้งมาตรการหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้ว

มาตรการดังกล่าวอาจ ได้แก่ การจัดเตรียมห้องที่บ้านผู้ป่วย เพื่อรับช่วงการดูแลอย่างต่อเนื่อง (Continuum) ตัวอย่างเช่น ในกรณีผู้ป่วยที่เพิ่งฟื้นจากโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) ซึ่งต้องได้รับการดูแลเพิ่มเติมที่บ้าน ณ ศูนย์พักฟื้น (Rehabilitation center) หรือตามสถานพยาบาลอื่นๆ

นักกายภาพบำบัด ยังต้องบันทึกลงในแฟ้มประวัติผู้ป่วย ในเรื่องหรือสิ่งที่พบเห็น หัตถการที่ทำ และปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่มีต่อการบำบัด เพื่อประโยชน์ในการสื่อสารและประสานงานกับบุคลากรวิชาชีพอื่นๆ ในทีมงาน

ผมขอเชิญชวนคุณผู้อ่านให้ (1) เขียนมาสอบถามเนื้อหาที่มีข้อสงสัย เพื่อความกระจ่างขึ้น (2) ชี้แนะข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือสิ่งขาดตกบกพร่อง เพื่อการแก้ไขให้ถูกต้อง (3) แสดงความคิดเห็นในแต่ละตอน ทั้งติและชม เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้น และ (4) แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของคุณผู้อ่าน เพื่อประโยชน์ต่อสาธารณชนร่วมกัน ครับ

แหล่งข้อมูล:

  1. Griffin, Donald J. (2012). Hospitals : What They Are and How They Work (4th Ed). Sudbury, MA : Jones & Bartlett Learning.
  2. ประสบการณ์จากเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท โรงพยาบาลประสานมิตร (มูลนิธิสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทย) และศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ (โรงพยาบาลรามาธิบดี)