บิซาโคดิล (Bisacodyl)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ: คือ ยาอะไร?

ยาบิซาโคดิล (Bisacodyl) คือ ยาระบาย/ยาแก้ท้องผูกที่จำหน่ายแพร่หลายในร้านขายยา, คลินิก , และโรงพยาบาล, ด้วยมีรูปแบบการใช้ที่ง่ายและสะดวก จึงเป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

ยาบิซาโคดิลมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ)รักษาโรคอะไร?

บิซาโคดิล

ยาบิซาโคดิล มีสรรคุณรักษาโรค/ข้อบ่งใช้:

  • เป็นยาแก้ท้องผูก

ยาบิซาโคดิลออกฤทธิ์อย่างไร?

ยาบิซาโคดิลมีกลไกการออกฤทธิ์โดย ตัวยาจะกระตุ้นให้ผนังลำไส้ใหญ่บีบตัว ทำให้อุจจาระเคลื่อนตัว จนทำให้เกิดการขับถ่ายในที่สุด

ยาบิซาโคดิลมีรูปแบบจัดจำหน่ายอย่างไร?

รูปแบบการจัดจำหน่ายยาบิซาโคดิล:

  • ยาเม็ดเคลือบน้ำตาล ขนาด 5 มิลลิกรัม
  • ยาเม็ด ขนาด 5 มิลลิกรัม
  • ยาเหน็บหรือยาสอด(ทวาร)มีตัวยา 10 มิลลิกรัม

ยาบิซาโคดิลมีขนาดรับประทานอย่างไร?

การรับประทานยาบิซาโคดิล มีขนาดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะอาการป่วย เพศ อายุ ดังนั้นเพื่อความถูกต้องและเหมาะสม ควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งจ่ายขนาดรับประทานในผู้ ป่วยแต่ละคน สำหรับผู้ใหญ่ขนาดสูงสุดที่รับประทานแก้ท้องผูกไม่ควรเกิน 10 มิลลิกรัมก่อนนอน (วันละครั้งเดียว) ส่วนในเด็ก (นิยามคำว่าเด็ก)ขนาดรับประทานควรเป็นการแนะนำจากแพทย์

*****หมายเหตุ: ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษา แพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมทั้งยาบิซาโคดิล ผู้ป่วยควรแจ้ง แพทย์ พยาบาล และเภสัชกร เช่น

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิด และอาการจากการแพ้ยา เช่น กินยา/ใช้ยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่น/หาย ใจติดขัด/หายใจลำบาก/ หอบเหนื่อย
  • มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาบิซาโคดิลอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อนแล้ว
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์/มีครรภ์หรือไม่ หรือกำลังให้นมบุตรหรือไม่ เพราะยาหลายตัวสามารถผ่านรก หรือผ่านเข้าสู่น้ำนม และเข้าสู่ทารกก่อผลข้างเคียงต่อทารกได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาบิซาโคดิล สามารถรับประทานยาเมื่อนึกขึ้นได้ หากการลืมทานยา ใกล้กับมื้อถัดไป ให้รับประทานขนาดปกติโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยาเป็น 2 เท่า

ยาบิซาโคดิลมีผลไม่พึงประสงค์ไหม?

ยาบิซาโคดิลมีผล/อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/ อาการข้างเคียง) เช่น

  • ทำให้ไม่สบายในช่องท้อง
  • ปวดเกร็ง/ ปวดบีบในช่องท้อง

ยาบิซาโคดิลมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นไหม?

การกินยาบิซาโคดิล มีปฎิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่น เช่น

  • เมื่อกินร่วมกับยาลดกรด จะทำให้ยาบิซาโคดิลแตกตัวในกระเพาะอาหารอย่างรวดเร็วและ ทำให้เกิดการระคายเคือง กลุ่มยาลดกรด เช่นยา อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminium hydroxide: อ่านเพิ่มเติมในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ยาอลัมมิล), แมกนีเซียมคาร์บอเนต (Magnesium carbonate)
  • เมื่อกินยานี้ ร่วมกับ ยาขับปัสสาวะ จะเสริมฤทธิ์การสูญเสียเกลือแร่ของร่างกาย ทำให้
    • อ่อนเพลีย
    • ปากคอแห้ง
    • กระหายน้ำ
    • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    • เป็นตะคริว
    • ปัสสาวะลดลง
    • ความดันโลหิตต่ำ
    • ใจสั่น

มีข้อควรระวังไหมเมื่อกินยาบิซาโคดิล?

ข้อควรระวังเมื่อกินยาบิซาโคดิล เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
  • ห้ามใช้ยานี้ใน สตรีมีครรภ์ เพราะอาจส่งผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์
  • ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคลำไส้อักเสบ เพราะอาจทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นได้
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นรับประทาน
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาบิซาโคดิลด้วย) ยาแผนโบราณ อาหารเสริม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิดควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ควรเก็บรักษายาบิซาโคดิลอย่างไร?

สามารถเก็บยาบิซาโคดิล:

  • เก็บยาในอุณหภูมิห้อง
  • เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • เก็บยาให้พ้นแสง/แสงแดด ในที่แห้ง
  • ไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์

ยาบิซาโคดิลมีชื่ออื่นๆไหม? ผลิตโดยบริษัทอะไรบ้าง?

ยาบิซาโคดิล มีชื่ออื่นตามชื่อทางการค้า และบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
BISACOD ENTERIC – COATED TAB (บิซาคอดเอนเทอริคโค้ด)Medicine Products
BISACODYL GPO TAB (บิซาโคดิล จีพีโอ)GPO
BISACODYL COATED TAB (บิซาโคดิล โค้ด)T Man Pharma
BISOLAX CAP (ไบโซแลค)Sang Thai
CHINTA – LAX TAB (ชินตาแลค)Chinta
CONLAX ADULT SUPP (คอนแลค)Continental - Pharm
DULCOLAX ADULT SUPP (ดัลโคแลค)Boehringer Ingelheim
DULCOLAX ENTERIC – COATED TAB (ดัลโคแลคเอนเทอริคโค้ด)Boehringer Ingelheim
EMULAX EMULSION(อีมูแลคอีมัลชั่น)British Dispensary

บรรณานุกรม

  1. นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์. (2551). แนวทางในการดูแลผู้ป่วยโรคท้องผูก ท้องเสีย และ IBS (ดีวีดี). กรุงเทพฯ: โรงแรมสยามซิตี้
  2. https://www.mims.com/thailand/drug/info/bisacodyl?mtype=generic [2021,Aug14]
  3. https://www.mims.com/thailand/drug/info/emulax%20bisacodyl [2021,Aug14]
  4. https://en.wikipedia.org/wiki/Laxative [2021,Aug14]
  5. https://www.drugs.com/cdi/bisacodyl-tablets.html [2021,Aug14]
  6. https://en.wikipedia.org/wiki/Bisacodyl [2021,Aug14]