บทบาทสมอง ของผู้มีภาวะ ADHD

นักวิทยาศาตร์ประสาทวิทยา รายงานผลการวิจัยเร็วๆ นี้ว่า บริเวณสมองส่วนที่ช่วยจัดการกิจกรรมทางจิตอย่างเหมาะสมที่สุด จะวิวัฒนาการทำงานได้ดีกับเด็กสมาธิสั้นและภาวะไม่หยุดนิ่ง (Attention deficit hyperactivity disorder: ADHD) โดยสะท้อนถึงการดิ้นรนภายใน [สมอง] ที่จะทำงานมากกว่าหนึ่งอย่างในเวลาเดียวกัน

ทีมนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าว ใช้เครื่องส่องภาพแม่เหล็ก (Magnetic imaging scanner) เพื่อค้นหาสัญญาณของกิจกรรมทางประสาท ในบรรดาเด็ก 19 คนที่ได้รับผลกระทบ [จากปัญหาสมาธิ] และเด็กอีก 23 คน ที่ได้รับการร้องขอให้จดจำการลำดับตัวอักษรที่ไม่ซับซ้อน แล้วค้นพบว่า บริเวณสำคัญ [สมอง] ส่วนที่ควบคุม ในกลุ่มเด็กที่มีปัญหาสมาธินั้น ทำงานหนักกว่า แต่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า [สมองเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง]

ทีมนักวิทยาศาสตร์กล่าวระหว่างการประชุมของนักวิจัยสมองจำนวน 31,000 คน แห่งสโมสรวิทยาศาสตร์ประสาทวิทยา (Society for Neuroscience) ใน Washington, D.C. ว่า พื้นฐานความแตกต่างในการทำงานของสมองอาจเป็นสาเหตุสำคัญของการไม่ใส่ใจ ปฏิกิริยาโต้ตอบทันที และปัญหาสมาธิ ซึ่งทำให้เด็กๆที่มีภาวะ ADHD ยากที่จะตั้งใจเรียน

การสำรวจของหน่วยงานในสหรัฐอเมริกาด้านทรัพยากรสุขภาพและบริการ (U.S. Health Resources and Services Administration) รายงานว่า เด็กอเมริกันประมาณ 2 ล้านคน ได้รับการวินิจฉัยว่า มีปัญหาด้านสมาธิ แต่ไม่มีใครเข้าใจสาเหตุพื้นฐานทางชีววิทยาประสาทที่ก่อให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิต ซึ่งได้กลายเป็นปัญหาที่พบบ่อยขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546

สถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institutes of Health) รายงานในเดือนกันยายน ศกนี้ ว่า ในส่วนของผู้ที่มีอาการรุนแรงที่สุด แล้วได้รับการบำบัดด้วยยากระตุ้นที่แพทย์สั่ง อาทิ Ritalin และ Adderall (ชื่อการค้าทั้ง 2 ตัว) ก็มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การค้นพบเมื่อเร็วๆนี้ ได้เพิ่มหลักฐานทางชีวเวชว่า ผู้ได้รับการวินิจฉัยว่ามีสมาธิผิดปรกติซึ่งเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันว่า พบมากที่สุดในพฤติกรรมเด็กนั้น มีรูปแบบที่ไม่ธรรมดาของการทำงานของสมองซึ่งยังคงอยู่สืบเนื่องต่อไปยังวัยผู้ใหญ่

ในภาพรวมแล้ว สมองของเด็กที่มีอาการ ADHD จะมีพัฒนาการตามปรกติ แต่อาจต้องใช้เวลายาวนานขึ้นอีก 3 ปี เพื่อพัฒนาอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในบริเวณด้านหน้าชั้นนอกของเนื้อเยื่อสมองที่มีบทบาทสำคัญในการควบคุมสมาธิ การคิดอย่างมีเหตุผล และการวางแผน

ยังมีการวิจัยอีกชิ้นหนึ่ง ซึ่งทีมนักวิทยาศาสตร์ รายงานว่า เด็กที่มีภาวะ ADHD มีความแตกต่าง เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กอื่นๆ ในสมองส่วนที่เรียกว่า Caudate nucleus ซึ่งเป็นสมองส่วนอยู่ลึกในสมองใหญ่ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความจำ เนื่องจากเครือข่ายสมองส่วนนี้ถูกขัดจังหวะในขณะทำงาน จึงทำให้สมองของเด็กที่มีภาวะ ADHD ต้องทำงานหนักกว่าสมองของเด็กปรกติ

แหล่งข้อมูล:

  1. Scientists Probe Role of Brain in ADHD Cases. http://online.wsj.com/article/SB10001424052970204190504577036330647583846.html?mod=WSJ_article_MoreIn_Health%26Wellness [2011, November 26].