น้ำท่วมสมอง ? (ตอนที่ 4)

น้ำท่วมสมอง-4

      

      ส่วนอาการทางกายภาพโดยทั่วไปของเด็กทารก ได้แก่

  • อาเจียน
  • ง่วงนอน (Sleepiness)
  • หงุดหงิด (Irritability)
  • กินยาก
  • ชัก
  • ตาดำมองต่ำลงตลอดเวลา (Sunsetting of the eyes)
  • ขาดความแข็งแรงและความตึงตัวของกล้ามเนื้อ (Muscle tone)
  • ไม่ค่อยสนองตอบต่อการสัมผัส
  • โตช้า

      สำหรับในเด็กวัยหัดเดิน (Toddlers) และเด็กโตขึ้นมาหน่อย อาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดศีรษะ
  • ตามัวหรือเห็นภาพซ้อน
  • ตาดำมองต่ำลงตลอดเวลา
  • ศีรษะขยายใหญ่ผิดปกติ
  • เซื่องซึมหรือง่วงนอน
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • การทรงตัวไม่ดี
  • กินยาก
  • ชัก
  • กลั้นปัสสาวะไม่ได้ (Urinary incontinence)

      และมีพฤติกรรมและการรับรู้ (Cognitive) ที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ

  • หงุดหงิด
  • บุคลิกภาพเปลี่ยนไป
  • การเรียนแย่ลง
  • มีปัญหาในเรื่องทักษะ เช่น การเดิน การพูด

      อาการของผู้ใหญ่วัยต้นและวัยกลางคนที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่

  • ปวดศีรษะ
  • เซื่องซึม (Lethargy)
  • การทรงตัวไม่ดี
  • ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้หรือปัสสาวะป่อย
  • บกพร่องทางการมองเห็น
  • ความจำ สมาธิ และความคิดทดถอย ซึ่งอาจมีผลต่อการทำงาน

แหล่งข้อมูล:

  1. Hydrocephalus. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hydrocephalus/symptoms-causes/syc-20373604 [2018, May 7].