ระวัง ! น้ำดื่มปนเปื้อน (ตอนที่ 7)

ตะกั่วเป็นสิ่งที่ทำร้ายเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีผลกระทบต่อพัฒนาด้านประสาทและสมอง ยิ่งเป็นเด็กเล็กแล้วยิ่งมีผลเสียมาก โดยเฉพาะทารกที่ยังอยู่ในครรภ์ โดยผลกระทบดังกล่าว ได้แก่

  • ปัญหาด้านพฤติกรรมหรือสมาธิ
  • ปัญหาด้านการเรียน
  • ปัญหาการได้ยิน
  • ไตถูกทำลาย
  • ระดับไอคิวต่ำ
  • พัฒนาการด้านร่างกายช้า (Slowed body growth)

สำหรับอาการโดยทั่วไปของผู้ที่ได้รับพิษตะกั่ว ได้แก่

  • ปวดท้องและเป็นตะคริว
  • พฤติกรรมก้าวร้าว
  • มีภาวะโลหิตจาง
  • ท้องผูก
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดศีรษะ
  • ความดันโลหิตสูง
  • หงุดหงิด
  • อยากอาหารน้อยลง
  • สูญเสียความจำ
  • จำนวนอสุจิน้อยลง
  • คลอดก่อนกำหนดในกรณีหญิงมีครรภ์

แต่หากได้รับพิษมากอาจจะอาเจียน เดินเซ (Staggering walk) กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก หรือไม่รู้สึกตัว (Coma)

ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการได้รับพิษตะกั่ว คือ

  • อายุ – ทารกและเด็กจะได้รับสารพิษได้ง่ายกว่า เช่น การเอาของเล่นเข้าปาก การเอามือที่เปื้อนฝุ่นที่มีสารตะกั่วเข้าปาก
  • การอาศัยอยู่ในบ้านเก่าที่ใช้สีที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว
  • งานอดิเรกบางอย่าง เช่น งานกระจกสี (Stained glass) ที่ต้องใช้ตะกั่วเป็นตัวเชื่อม

แหล่งข้อมูล

  1. Lead poisoning. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002473.htm [2014, May 12].
  2. Lead poisoning. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lead-poisoning/basics/definition/con-20035487 [2014, May 12].