ระวัง ! น้ำดื่มปนเปื้อน (ตอนที่ 5)

คลอรีนเป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในบ้าน ก๊าซคลอรีนสามารถเปลี่ยนของเหลวเพื่อสะดวกต่อการขนส่ง เมื่อคลอรีนเหลวถูกปล่อยออกมา จะคืนตัวเป็นก๊าซและกระจายตัวไปอย่างรวดเร็ว

คลอรีนมีกลิ่นฉุนเหมือนสารฟอกขาว มีสีเหลืองเขียว ไม่ติดไฟ แต่อาจระเบิดได้ถ้าอยู่ร่วมกับสารเคมีอื่น เช่น น้ำมันสน (Turpentine) และแอมโมเนีย (Ammonia)

เป็นหนึ่งในสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมของสหรัฐอเมริกามากที่สุด โดยเฉพาะในกระบวนการฟอกขาวในอุตสาหกรรมการผลิตกระดาษและผ้า นอกจากนี้ยังใช้ในการผลิตยาฆ่าแมลง ยาง และตัวทำละลาย (Solvents)

มีการใส่คลอรีนลงไปในน้ำดื่มและสระว่ายน้ำ เพื่อการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการกำจัดขยะอุตสาหกรรมและสิ่งปฏิกูลต่างๆ

อาการที่เกิดจากสารพิษคลอรีนขึ้นกับจำนวนคลอรีนที่ได้รับ วิธีการและระยะเวลา โดยมีอาการกระทบต่อร่างกายดังนี้

  • ทางเดินหายใจและปอด
    • หายใจลำบาก
    • คอบวม
    • มีภาวะปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema)
  • เลือด
    • มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดในเลือด (pH balance) ซึ่งอาจทำลายอวัยวะของร่างกายได้
  • ตา หู จมูก และคอ
    • สูญเสียการมองเห็น
    • เจ็บคอมาก
    • เจ็บหรือมีอาการแสบร้อนในหู ตา จมูก ริมฝีปาก หรือลิ้น
  • ทางเดินอาหาร
    • มีเลือดออกในอุจจาระ
    • รู้สึกแสบร้อนในหลอดอาหาร
    • ปวดท้องอย่างมาก
    • อาเจียน
  • หัวใจและหลอดเลือด
    • ล้มเหลว
    • ความดันโลหิตต่ำ
  • ผิวหนัง
    • แสบร้อน
    • ผิวหนังเป็นรู (Necrosis)
    • ระคายเคืองผิวหนัง

แหล่งข้อมูล

  1. Facts about Chlorine. http://www.bt.cdc.gov/agent/chlorine/basics/facts.asp [2014, May 10]
  2. Chlorine poisoning. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002772.htm [2014, May 10].

แหล่งข้อมูล

  1. Facts about Chlorine. http://www.bt.cdc.gov/agent/chlorine/basics/facts.asp [2014, May 10]
  2. Chlorine poisoning. http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/002772.htm [2014, May 10].