นิ่วในถุงน้ำดี (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

นิ่วในถุงน้ำดี-4

วิธีการวินิจฉัย (ต่อ)

  • Magnetic resonance cholangio-pancreatography or MRCP ซึ่งเป็นการตรวจหาความผิดปกติของท่อทางเดินน้ำดีด้วยเครื่อง MRI
  • Cholescintigraphy หรือ Hepatobiliary iminodiacetic acid scan (HIDA scan) เป็นการตรวจทางเดินน้ำดีด้วยการย้อมสี (ฉีดสารรังสีจะเข้าสู่ร่างกาย) แล้วสแกน
  • Endoscopic retrograde cholangiopancreatography (ERCP) เป็นการใช้กล้องส่องเข้าไปทางปาก ผ่านหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้นจนถึงท่อเปิดของน้ำดีในลำไส้เล็กแล้วฉีดสารทึบแสงและถ่ายภาพเอกซเรย์ไว้
  • การตรวจเลือด (Blood test) เพื่อดูอาการแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อ ดีซ่าน ตับอ่อนอักเสบ หรืออื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากการมีนิ่วในถุงน้ำดี

กรณีที่นิ่วในถุงน้ำดีไม่แสดงอาการก็ไม่จำเป็นต้องรักษาแต่อย่างใด แต่แพทย์อาจแนะนำให้ระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การปวดท้องด้านขวาบนอย่างรุนแรง ส่วนกรณีที่มีอาการนั้น แพทย์อาจรักษาด้วยการ

  • การตัดถุงน้ำดี (Cholecystectomy) – ในกรณีที่มีนิ่วในถุงน้ำดีเกิดซ้ำบ่อย แพทย์อาจแนะนำให้ตัดถุงน้ำดีออก เพื่อให้น้ำดีไหลตรงจากตับไปยังลำไส้เล็กแทนที่จะต้องมาสะสม่ในถุงน้ำดีก่อน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ท้องเสียอ่อนๆ ได้ จึงควรกินอาหารที่มีไขมันต่ำเพื่อให้ร่างกายปล่อยน้ำดีน้อยลง ทั้งนี้ การผ่าตัดอาจทำได้ด้วย
  • การผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic cholecystectomy)
  • การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง (Open cholecystectomy)
  • กินยาเพื่อสลายนิ่ว เช่น ยา Chenodiol และ ยา Ursodiol ซึ่งอาจใช้เวลาในการรักษาเป็นเดือนหรือเป็นปี และนิ่วมักเกิดอีกหลังหยุดรักษา และอาจมีผลข้างเคียงคือ ท้องเสีย
  • การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal shock-wave lithotripsy = ESWL)

สำหรับการป้องกันการเกิดนิ่วในถุงน้ำดีสามารถทำได้ด้วยการลดความเสี่ยง ดังนี้

  • กินอาหารให้เป็นเวลา การอดมื้ออาหารหรือการอดอาหาร (Fasting) สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อาหารทอด
  • กินอาหารที่มีไฟเบอร์เพื่อให้ลำไส้เคลื่อนไหวได้มากขึ้น แต่อย่ามากเกินเพราะอาจทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 6-8 แก้ว
  • ลดน้ำหนักอย่างช้าๆ (ประมาณสัปดาห์ละ 0.5-1 กิโลกรัม) เพราะการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่ว
  • รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพราะโรคอ้วนและการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินจะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี ควรรักษาน้ำหนักตัวด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง

แหล่งข้อมูล:

  1. Gallstones. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/gallstones/symptoms-causes/syc-20354214 [2017, December 18].
  2. Gallstones: What You Should Know. https://www.webmd.com/digestive-disorders/gallstones#1 [2017, December 18].
  3. Understanding Gallstones: Types, Pain, and More. https://www.healthline.com/health/gallstones [2017, December 18].
  4. Gallstones. https://www.medicinenet.com/gallstones/article.htm [2017, December 18].