นิวมอเนีย (ตอนที่ 5 และตอนจบ)

นิวมอเนีย

ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วหรือลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแทรกซ้อน

  • พักผ่อนให้เต็มที่ แม้ว่าอาการจะดีขึ้นแล้วแต่ก็ไม่ควรไว้วางใจ เพราะอาจกลับเป็นซ้ำได้อีก
  • ดื่มน้ำให้มากเพื่อช่วยละลายเสมหะในปอดและป้องกันภาวะขาดน้ำ (Dehydration)
  • กินยาตามแพทย์สั่งจนครบคอร์ส เพราะการหยุดยาเร็วเกินไป ในปอดอาจมีเชื้อแบคทีเรียหลงเหลืออยู่ที่ทำให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีก
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นหวัด หัด (Measles) หรืออีสุกอีใส (Chickenpox)
    • ส่วนการป้องกันโรคปอดอัดเสบนั้น สามารถทำได้ดังนี้

      1. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น ศูนย์การค้า โรงภาพยนตร์ โดยเฉพาะไม่ควรพาเด็กเล็กๆ ไปในสถานที่ดังกล่าว
      2. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น ภาวะทุพโภชนาการ ควันบุหรี่ ควันไฟ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ หรืออากาศที่หนาวเย็น
      3. ไม่ควรให้เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี และผู้ที่สุขภาพไม่แข็งแรงคลุกคลีกับผู้ป่วยและผู้ป่วยควรใช้หน้ากากอนามัย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
      4. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้แอลกอฮอล์เจล
      5. ไม่สูบบุหรี่
      6. รักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ด้วยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายประจำ และกินอาหารที่มีประโยชน์
      7. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นหวัด หัด (Measles) หรืออีสุกอีใส (Chickenpox)
      8. ให้วัคซีนป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง โดยวัคซีนที่ได้รับการพิจารณาว่ามีผลในการลดอัตราการเกิดโรคปอดอักเสบในชุมชน คือ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ

      สำหรับวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบนั้น พญ.ชญาณิศา กล่าวว่า มีประสิทธิภาพในการป้องกันปอดอักเสบจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัส จึงควรฉีดในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผู้สูงอายุ (65 ปี) ผู้ที่ไม่มีม้ามหรือม้ามทำหน้าที่ได้ไม่ดี ผู้ที่เป็นโรคไตวายเรื้อรัง โรคเบาหวาน โรคหัวใจหรือโรคปอดเรื้อรัง โรคพิษสุราเรื้อรัง โรคตับแข็งผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยที่ได้รับยาสเตียรอยด์ หรือยารักษาโรคมะเร็ง ผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น

      โดยที่วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบมีความปลอดภัยสูงมาก หากจำเป็นต้องฉีดทั้งสองชนิดก็สามารถฉีดพร้อมกันได้ โดยผลข้างเคียงที่พบ ได้แก่ อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด อาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวซึ่งสามารถรักษาตามอาการได้ เมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับจากวัคซีนนั้นถือว่าคุ้มค่ามากและแนะนำว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงข้างต้นสมควรมารับการฉีดวัคซีนทุกคน

      แหล่งข้อมูล

      1. Pneumonia - Topic Overview. http://www.webmd.com/lung/tc/pneumonia-topic-overview [2016, January 11].

      2. Pneumonia. http://www.lung.org/lung-health-and-diseases/lung-disease-lookup/pneumonia/ [2016, January 11].

      3. Pneumonia. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/pneumonia/basics/definition/con-20020032 [2016, January 11].