ทุพโภชนา ทุโภชนา (Malnutrition)

จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542 ทุ เป็นคำมาจากภาษาบาลี และ สันสกฤต หมายถึง ยาก ลำบาก เลว ส่วนโภชน แปลว่า อาหาร มาจากบาลี และ สันสกฤตเช่นกัน ดังนั้น ทุพโภชนา หรือ ทุโภชนา จึงหมายถึง ภาวะที่ร่างกายขาดอาหาร หรือขาดสาร อาหาร นั่นเอง

ทางการแพทย์ ภาวะทุพโภชนา/ทุพโภชนาการ หรือ ทุโภชนา/ทุโภชนาการ คือภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยมีสาเหตุหลัก คือ จากบริโภคไม่เพียงพอ อาจจากมีโรคเรื้อรังต่างๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังของอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร (เช่น ลำไส้อักเสบเรื้อรัง) ปัญหาทางเศรษฐกิจ อุปนิสัยในการบริโภค ความเชื่อ ติดสารเสพติด ปัญหาด้านอารมณ์/จิตใจ หรือ เป็นผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ทำให้ เบื่ออาหาร คลื่น ไส้ อาเจียน เช่น ยาเคมีบำบัด

อาการหลักของ ทุพโภชนา

  • ในเด็ก คือ เจริญเติบโตไม่เต็มที่ และภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ จึงติดเชื้อโรคได้ง่าย และรุน แรง จนเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
  • ในผู้ใหญ่ มักมีอาการอ่อนเพลีย นอกจากนั้น จะขึ้นกับว่า ขาดสารอาหารอะไร เช่น ขาดเกลือแร่เหล็ก ก็จะมีภาวะซีด เป็นต้น และเช่นเดียวกับในเด็ก ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ ลง จึงติดเชื้อโรคได้ง่าย และอาจรุนแรง เป็นสาเหตุเสียชีวิตได้เช่นกัน

แพทย์วินิจฉัยภาวะทุพโภชนาได้จาก อาการผู้ป่วย ประวัติทางการแพทย์ต่างๆ การตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือดดูค่าสารอาหารต่างๆ เป็นต้น

การรักษา ภาวะทุพโภชนา คือ การเสริมสารอาหารที่ขาด โดยการให้สารอาหาร อาจทั้งจากการรับประทาน และทางหลอดเลือดดำ ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ และร่วมกับการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น การให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อมีการติดเชื้อร่วมด้วย เป็นต้น

บรรณานุกรม

  1. Malnutrition http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0001441/ [2013,July5].