ทีบี ในวันนี้ (ตอนที่ 3)

ทีบีในวันนี้

โดยทั่วไป ประมาณร้อยละ 5-10 ของผู้ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝงที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีการพัฒนาไปเป็นวัณโรคที่แสดงอาการ ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเป็นวัณโรคสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

1. ผู้ที่เพิ่งได้รับเชื้อวัณโรคไม่นาน ซึ่งได้แก่

  • ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค
  • ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานมาจากบริเวณที่มีอัตราการเกิดวัณโรคสูง
  • เด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มีผลตรวจว่าติดเชื้อวัณโรค (Positive TB test)
  • กลุ่มคนที่มีอัตราสูงในการเป็นผู้แพร่เชื้อ เช่น คนเร่ร่อน คนติดยา และคนที่ติดเชื้อเฮชไอวี
  • คนที่ทำงานหรืออยู่ใกล้กับบริเวณที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น โรงพยาบาล สถานพยาบาล (Nursing homes) เพิงอาศัยของคนเร่ร่อน (Homeless shelters) สถานพินิจ (Correctional facilities) และบริเวณที่อยู่ของผู้ที่ติดเชื้อเฮชไอวี

2. ผู้ที่ป่วยแล้วทำให้ระบบภูมิต้านทานอ่อนแอ ซึ่งได้แก่

  • ผู้ติดเชื้อเฮชไอวี
  • ผู้ติดสารเสพติด (Substance abuse)
  • ผู้ที่เป็นโรคปอดฝุ่นทรายหรือซิลิโคสิส (Silicosis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจาก การสูดหายใจเอาฝุ่นทรายหรือฝุ่นหินต่างๆ ที่มีสารซิลิคอนไดออกไซด์ หรือที่เรียกว่า ผลึกซิลิก้า เข้าไปในปอด
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน (Diabetes mellitus)
  • ผู้ที่เป็นโรคไตรุนแรง
  • ผู้ที่น้ำหนักตัวน้อย
  • ผู้ที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ (Organ transplants)
  • ผู้ที่เป็นมะเร็งบริเวณศีรษะและคอ
  • ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
  • การรักษาเฉพาะของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) หรือ โรคโครห์น (Crohn’s disease)

ผู้ที่เป็นวัณโรคระยะแฝงอาจจะไม่พัฒนาไปเป็นวัณโรคที่แสดงอาการ ส่วนผู้ที่เป็นวัณโรคระยะแฝงและมีความเสี่ยงสูงที่จะพัฒนาไปเป็นวัณโรคที่แสดงอาการ ได้แก่

  • ผู้ติดเชื้อเฮชไอวี
  • ผู้ที่เคยติดเชื้อวัณโรคมาก่อนในระยะ 2 ปีที่ผ่านมา
  • ทารกและเด็กเล็ก
  • ผู้ที่ฉีดสารเสพติด
  • ผู้ที่ป่วยด้วยโรคอื่นและทำให้ภูมิต้านทานอ่อนแอ
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่เคยเป็นวัณโรคแล้วไม่ทำการรักษาให้ถูกต้อง

แหล่งข้อมูล

1. Tuberculosis (TB)http://www.cdc.gov/tb/topic/basics/default.htm[2016, March 12].

2. Tuberculosis. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tuberculosis/home/ovc-20188556[2016, March 12].