ทำไมหัวใจต้องล้มเหลว (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

ทำไมหัวใจต้องล้มเหลว

สำหรับการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวทำได้โดยการลดความเสี่ยงต่างๆ เช่น

  • ไม่สูบบุหรี่
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
  • ควบคุมความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด คลอเรสเตอรอล
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • กินอาหารที่มีประโยชน์
  • รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี
  • ลดและจัดการกับความเครียด

อนึ่ง ในปี พ.ศ. 2544 The American Heart Association (AHA) และ American College of Cardiology (ACC) ได้จัดระดับของภาวะหัวใจล้มเหลว และมีการทบทวนการจัดระดับอีกครั้งในปี พ.ศ. 2549 โดยการจัดระดับนี้ทำให้เราสามารถเข้าใจถึงพัฒนาการของโรคว่าจะแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไปและเข้าใจถึงแผนการดูแล ซึ่งมีลักษณะตั้งแต่ระยะ A ไปจนถึงระยะ D ดังนี้

ระยะ A ระยะที่มีความเสี่ยงสูงในการมีภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ คนที่มี

  • ความดันโลหิตสูง
  • เบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ
  • อ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
  • มีประวัติการรักษาด้วยยาที่เป็นพิษต่อหัวใจ (Cardiotoxic drug therapy)
  • มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ (Alcohol abuse)
  • มีประวัติเป็น โรคไขข้ออักเสบ (Rheumatic fever)
  • มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Cardiomyopathy)
    • ระยะ B ระยะที่พบว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีปัญหาในการบีบเลือดออก (Systolic left ventricular dysfunction) แต่ไม่เคยมีภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวัดค่า EF จะอยู่ต่ำกว่าร้อยละ 40 ซึ่งได้แก่ คนที่

      • เคยเป็น โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Heart attack)
      • เป็นโรคลิ้นหัวใจ
      • เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม

      ระยะ C ระดับที่พบว่าหัวใจห้องล่างซ้ายมีปัญหาในการบีบเลือดออก ได้แก่ คนที่

      • หายใจลำบาก
      • อ่อนเพลีย
      • ออกกำลังกายได้น้อยลง

      ระยะD มีอาการหนักแม้จะรักษาด้วยการใช้ยาแล้วก็ตาม

      แหล่งข้อมูล

      1. Heart Disease and Congestive Heart Failure. http://www.webmd.com/heart-disease/guide-heart-failure [2015, September 30].
      2. Heart failure. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/heart-failure/basics/definition/con-20029801 [2015, September 30].