ทำไมจึงเรียกไข้เหลือง ? (ตอนที่ 2)

ทำไมจึงเรียกไข้เหลือง

ระยะฟักตัวจะโรคไข้เหลืองจะอยู่ในวันที่ 3-6 หลังการติดเชื้อ หลังจากนี้นจะเป็นระยะเฉียบพลัน (Acute phase) ซึ่งจะทำให้มีอาการ

  • เป็นไข้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่หลังและเข่า
  • ไวต่อแสง (Sensitivity to light)
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • เวียนศีรษะ (Dizziness)
  • ตา หน้า หรือลิ้น มีสีแดง

หลังระยะเฉียบพลัน อาการต่างๆ อาจจะหายไป 1-2 วัน และประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วยจะเข้าสู่ระยะเป็นพิษ (Toxic phase) ซึ่งในระยะนี้อาการจะในระยะเฉียบพลันจะกลับมา แต่รุนแรงกว่าเดิมจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการในระยะเป็นพิษ ได้แก่

  • ผิวและตาขาวมีสีเหลือง (Jaundice)
  • ปวดช่องท้องและอาเจียน (บางครั้งมีเลือดปน)
  • ปัสสาวะน้อยลง
  • มีเลือดออกทางจมูก ปาก และตา
  • หัวใจเต้นช้า (Bradycardia)
  • ตับและไตวาย
  • สมองทำงานผิดปกติ รวมถึงอาการเพ้อ (Delirium) ชัก (Seizures) และไม่รู้สึกตัว (Coma)
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไข้เหลือง ก็คือ การเดินทางไปยังบริเวณที่มียุงที่เป็นพาหะของโรค ซึ่งได้แก่ บริเวณกลุ่มประเทศที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทะเลทรายซาฮาราในทวีปแอฟริกา (Sub-Saharan Africa) และบริเวณอเมริกาใต้ (Tropical South America)

    ดังนั้น การเดินทางไปยังที่ดังกล่าวจึงควรป้องกันตัวเองด้วยการฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ก่อนการเดินทาง เพื่อให้เวลาร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันก่อน

    ผู้สูงอายุจะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงอย่างมากในการป่วยแบบรุนแรง และผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เหลืองรุนแรงร้อยละ 20-50 มักจะเสียชีวิต โดยอาการแทรกซ้อนของระยะเป็นพิษ ได้แก่ ไตและตับวาย ดีซ่าน เพ้อคลั่ง และไม่รู้สึกตัว นอกจากนี้อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียทุติยภูมิ (Secondary bacterial infections) เช่น โรคนิวมอเนีย (Pneumonia) หรือ ติดเชื้อในกระแสเลือด (Blood infections)

    แหล่งข้อมูล

    1. ยอดเหยื่อไข้เหลืองระบาดหนักในอังโกลา พุ่งอย่างน้อย 250 ศพ. http://manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9590000027412&Keyword=%e2%c3%a4 [2016, March 21].

    2. Yellow fever. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/yellow-fever/basics/definition/con-20032263 [2016, March 21].